วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการสมัคร gmail


1. เข้าไปที่ http://www.tourdoi.com/singup-gmail.htm
2. คลิกที่ปุ่ม "สมัคร gmail คลิกเลย" ที่อยู่ด้านบนขวา
3. กรอกข้อมูลของผู้ที่ต้องการสมัครให้ครบทุกช่วง
4. เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อบแล้วให้เลือกที่ปุ่ม "ฉันยอมรับ โปรดสร้างบัญชีของฉัน" ที่อยู่ด้านล่างของหน้าเว็บ หากข้อมูลไม่สมบูรณ์ระบบจะให้กรอกอีกครั้ง
แต่หากข้อมูลครบหน้าจอจะปรากฎดังภาพด้านล่าง


5. เมื่อคลิกที่ "บัญชีของฉัน" จะพบหน้าจอดังภาพด้านล่าง และสามารถเข้าใช้งานในหัวข้อต่าง ๆ ของ gmail ได้ตามต้องการ

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

wasna

marchmero

neno


Meepooh


ployniiz

somrong

toonny

sarawut007

The best

i-am-araya

kukkik0924

Sukanya

NU-KARN_1004

rungringnu1045

yongyut47

Malivan

EmpTy.NooNZa

bonyovage

thitima ketkaew

Netnapa

wongsakorn

อรรครินทร์

ajitti

piyaporn80

ann-chelseaict

mydear3133

panida

nutthagon

paweena

jirapron999

picture



กะเพราOcimum sanctum Linn.Labiatae

ชื่อสามัญ HOLY BASIL, SACRED BASIL

ส่วนที่ใช้เป็นยาใบและยอด มีรสเผ็ดร้อน

ขนาดและวิธีใช้ ใช้ใบสด 1 กำมือ ประมาณ 20 กรัมหรือใบแห้ง 4 กรัม ต้มพอเดือด เอาน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม การที่กะเพราสามารถขับลมได้ เพราะในใบมีน้ำมันหอมระเหยอยู่เป็นจำนวนมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ocimum sanctum Linn.
วงศ์
Labiatae
ชื่อพื้นเมือง
ภาคกลาง กะเพราแดง, ภาคเหนือ กอมก้อ, พายัพ กอมก้อดึก
ลักษณะ
เป็นไม้พุ่ม โคนต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ปลายกิ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน ทุกส่วนมีขน โดยเฉพาะส่วนที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนปกคลุมมากกว่า ส่วนที่แก่ กระเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และกะเพราลูกผสม ใบ เดียว เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ รูปรีแกมขอบขนานขอบใบหยัก ใบมีขน สีของใบขึ้นอยู่กับพันธุ์ ถ้ากะเพราแดง แผ่นใบจะเป็นสีม่วงแดง กระเพราขาว ใบสีเขียวอ่อน สำหรับกะเพราลูกผสมนั้น ใบจะมีสีม่วงแดงอมเขียว บางใบสีจะออกม่วงแดงมาก ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ช่อยาว หนึ่งช่อจะออกเป็นชั้น ๆ ชั้นละ 8 ดอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 3 ดอก ออกจะบานตรงกลางก่อน และทั้งช่อใหญ่จะบานจากกลางขึ้นข้างบน ดอกย่อยมีใบประดับรูปใน กลีบตรงกลีบดอกจะคงทน และขยายใหญ่เมื่อเป็นผล กลีบดอกสีชมพูอ่อนจนถึงชมพูแก่ แบ่งเป็น 2 ปาก โดยกลีบด้านล่างติดกัน ผล แห้งมีขนาดเล็ก หนึ่งดอกมี 4 ผล รูปรีเกลี้ยง
ส่วนที่ใช้
ใบสด
สารที่สำคัญ
มีน้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอมคล้ายน้ำมัน Anise น้ำมันประกอบด้าย linallol, methyl chavicol, eugenol ocimol ฯลฯ
บำบัดอาการ
ขับลม
ขนาดและวิธีการใช้
เด็กแรกเกิด ใช้ใบกะเพรา 1 ใบ ตำให้ละเอียด เติมน้ำผิ้งเดือนห้า 1 ช้อนชา ใช้สำลีชุบน้ำยา 1-2 หยด หยอดเด็กแรกเกิด วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยขับขี้เท่า และคุมธาตุ
เด็ก ใช้ใบสด 3-5 ใบ ขยี้ทาท้องเด็ก ช่วยป้องกันท้องขึ้นเฟ้อ
ผู้ใหญ่ ใช้ใบและยอดสด 1 กำมือ ประมาณ25 กรัม ต้มพอเดือด ดื่มแต่น้ำวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร
หญิงหลังคลอด แกงเลียงใบกระเพราให้รับประทาน จะช่วยป้องกันท้องอืด ท้องเฟ้อ กะเพราแดง จะมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราชนิดอื่น ๆ และในยาไทยนิยมใช้กะเพราแดง


ฟ้าทะลายAndrographis paniculata Wall.ex.Nees Acanthaceae
ชื่อสามัญ KARIYAT, THE CREAT
ส่วนที่ใช้ เป็นยาใบและลำต้นเหนือดินที่เริ่มออกดอก รสขมจัด ขนาดและวิธีใช้ - ใช้ใบฟ้าทะลายผึ่งให้แห้งในที่ร่มบดเป็นผงละเอียด ปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้งรับประทานครั้งละ 1.5 กรัม วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน หรือ ใช้ใบฟ้าทะลายแห้งบดเป็นผงหยาบ ดองเหล้าโรง 7 วัน เขย่าขวดหรือคนยา วันละ 1 ครั้งกรองเอาแต่ น้ำดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร และก่อน นอน- ใช้ใบสดตำพอกฝี หรือคั้นทำน้ำทาแผลพุพองบ่อย ๆ ถ้าใช้พอกฝีเปลี่ยนยาเช้า - เย็นสรรพคุณ - ใช้สำหรับบรรเทาอาการท้องเสีย การที่ใบฟ้าทะลายแก้อาการท้องเสียได้ เพราะมีสารกลุ่ม LACTONE เช่น DROGRAPHOLIDE,DEOXY-ANDROGRAPHOLIDE ฯลฯ ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้- แก้ไข้- รักษาฝี แผลพุพอง การที่ฟ้าทะลาย สามารถรักษาฝี แผลพุพองได้ผล เพราะมีสารกลุ่ม LACTONE สามารถยับยั้งแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อหนอง แผลฝีพุพองได้ ข้อเสนอแนะ- คนไข้บางคนรับประทานฟ้าทะลายแล้วมีอาการแพ้ คือ ปวดท้อง หรือท้องเสีย หรือปวดเอวเวียนศีรษะ ให้หยุดยาและเลิกใช้- ยาเตรียมในรูปลูกกลอนหรือการดองเหล้า ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 3 เดือนหรือถ้าผงยาไม่ควรเกิน 1 ปี เพราะยาจะเสื่อมคุณภาพ- ไม่ควรรับประทานยานี้ติดต่อกันนาน ๆ ฟ้าทะลายเป็นยาเย็น ถ้าใช้ติดต่อกันนาน ๆอาจทำให้กล้ามเนื้อเปลี้ย มือเท้าชาได้

กระชายBoesenbergia pandurata Holtt. Zingiberaceae
ชื่อสามัญ -----
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าและราก มีรสเผ็ดร้อน ขม ขนาดและวิธีใช้ใช้เหง้า หรือรากประมาณครึ่งกำมือน้ำหนักสด 5-10 กรัม แห้ง 2-5 กรัม ทุบพอแตกต้มกับน้ำพอเดือด ดื่มแต่น้ำ
สรรพคุณ ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด การที่กระชายช่วยลดอาการท้องอืดเฟ้อได้ เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยช่วยขับลม ช่วยให้ กระเพาะ และลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น

กระเทียมAllium sativum Linn. Alliaceae ชื่อสามัญ GARLIC

ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวใต้ดิน มีรสเผ็ดร้อน ขนาดและวิธีใช้สำหรับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด ใช้กระเทียม 5-10 กลีบ รับประทานหลังอาหาร หรือพร้อมอาหาร
ขนาดและวิธีใช้สำหรับรักษากลากเกลื้อน ฝานกระเทียมถูบ่อย ๆ บริเวณที่เป็นหรือตำแล้วขยี้ทาบริเวณที่เป็น ก่อนจะทายาใช้ไม้บาง ๆ เล็ก ๆ ที่ได้ฆ่าเชื้อโรคแล้ว (โดยการแช่ในแอลกอฮอล์ 70% หรือต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที) ขูดบริเวณที่เป็น ให้ผิวหนังแดง ๆ
สรรพคุณ- ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด การที่กระเทียมสด ช่วยลดอาการท้องอืดเฟ้อได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยขับลม- รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน การที่กระเทียมรักษากลาก เกลื้อนได้ เพราะในกระเทียมมีสารที่ออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา สารนั้นมีชี่อว่า "อัลลิซิน" ( ALLICIN )
ข้อเสนอแนะห้ามรับประทานกระเทียมขณะท้องว่าง

ขิงZingiber officinale Rosc. Zingiberaceae ชื่อสามัญ GINGER

ส่วนที่ใช้เป็นยาเหง้าแก่สด มีรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม ขนาดและวิธีใช้ ใช้ขิงแก่สดขนาด 2 หัวแม่มือ หรือน้ำหนัก 5 กรัม ล้างให้สะอาด ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละ 1/3 ถ้วยแก้ววันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ขนาดและวิธีใช้สำหรับอาการไอระคายคอจากเสมหะ วิธีที่ 1. เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ฝนกับน้ำมะนาวกวาดคอ ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร
วิธีที่ 2. เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ตำ เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำแทรกเกลือ ใช้กวาดคอถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร
สรรพคุณใช้ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน การที่เหง้าขิงแก่สามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เพราะในเหง้าขิงแก่มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย GINGEROL และ SHOGAOL เป็นสารช่วยป้องกันการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม การที่เหง้าขิงแก่ ลดอาการท้องอืดเฟ้อ และช่วยขับลมได้เพราะในเหง้าขิงแก่มีน้ำมันหอมระเหย ช่วยลดอาการไอ และระคายคอ จากการมีเสมหะ การที่เหง้าขิงแก่สามารถลดอาการไอ และระคายคอจากการมีเสมหะเพราะมีสารออกฤทธ์เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน คือ GINGEROL และ SHOGAOL

บอระเพ็ดชื่อพฤกษาศาสตร์ : Andrographis paniculata Wall. ex Nees.
ชื่ออังกฤษ : -
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นใบสดใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่ออายุได้ 3 - 5 เดือนสรรพคุณ : มี 4 ประการคือ 1.แก้ไขทั่วๆไป เช่น ไข้หวัด2.ระงับการอักเสบ เช่น พวกไอเจ็บคอ3.แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะและลำไส้อักเสบ4. เป็นยาขมเจริญอาหาร

มะขามป้อมชื่อพฤกษาศาสตร์ : Phyllanthus emblica Linn.
ชื่ออังกฤษ : Emblic myrobalan
ส่วนที่ใช้ : น้ำจากผล ผลโตเต็มที่สรรพคุณ : น้ำจากผล - แก้ท้องเสีย
ขับปัสสาวะผล - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

ว่านน้ำชื่อพฤกษาศาสตร์ : Acorus calamus L.
ชื่ออังกฤษ : Myrtle Grass, Sweet Flag
ส่วนที่ใช้ : ราก เหง้า น้ำมันหอมระเหยจากต้นสรรพคุณ : ราก - รับประทานมากทำให้อาเจียน รับประทานน้อย เป็นยาแก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้- ใช้เป็นยาเบื่อแมลงต่างๆเหง้า - ใช้ขับลมแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคผิวหนังน้ำมันหอมระเหยจากต้น - แก้ชัก เป็นยาขมหอม ทำให้เจริญอาหาร ช่วยการย่อย

โหระพา ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum basilicum Linn. อยู่ในวงศ์ LABIATAE
มีชื่ออื่นๆ อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 7-12 เซนติเมตร ใบประดับสีเขียวอมม่วงจะคงอยู่เมื่อเป็นผล กลีบดอกโคยเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 2 ส่วน เกสรตัวผู้ 4 อัน ผล ขนาดเล็กประโยชน์ใบสด มีน้ำมันหอมระเหย เช่น methyl chavicol และ linalool ฯลฯ ขับลมแก้ท้องอืดเฟ้อ ใช้เป็นอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสำอางบางชนิด เมล็ดเมื่อแช่น้ำจะพองเป็นเมือก เป็นยาระบาย เนื่องจากไปเพิ่มจำนวนกากอาหาร (bulk laxative)

ดอกอัญชัน Clitoria Ternatea Linn.Butterfly Pea, Blue Pea วงศ์ Papilionaceae

ชื่อท้องถิ่น เอื้องชัน (ภาคเหนือ) แดงชัน (เชียงใหม่)
ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-7ใบ ลักษณะกลมโตคล้ายพุทราเนื้อใบด้านบนเรียบ ปลายใบมน มีกระดูกใบเห็นได้ชัดเจนดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามข้อหรือซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ซึ่งมีชนิดดอกชั้นเดียว และดอก 2 ชั้น มีหลายสี ทั้งสีม่วงสีน้ำเงิน และสีขาว ฝักมีขนาดเล็กค่อนข้างแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน
แหล่งที่พบ พบได้ตามทั่วไปตามที่รกร้าง และนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเป็นไม้ประดับ
สารที่พบ ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงินมีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)
สรรพคุณ รากมีรสเย็นจืดใช้เป็นยาขับปัสสาวะพิการเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงดวงตา แก้ตาอักเสบ ตาฟางตาแฉะ โดยนิยมใช้รากต้นอัญชัน ชนิดดอกสีขาว นอกจากนี้ถ้านำรากมาถูฟันจะทำให้ฟันคงทนแข็งแรงและแก้อาการปวดฟันได้ดี เมล็ดใช้เป็นยาระบาย ซึ่งใช้ชนิดดอกสีนำเงินและดอกสีขาวส่วนดอกสดนำมาทาศีรษะเพื่อใช้เป็นยาปลูกผม

ว่านหางจรเข้ Aloe Aloe baebadensis Mill, Aloe vera Linn.var chinensis (Haw.) Berg ALOACEAE

ชื่ออื่น ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ), หางตะเข้ (ภาคกลาง)
รูปลักษณะไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยวเรียงรอบต้น กว้าง 5-12 ซม. ยาว 0.3-0.8 เมตร อวบน้ำมากสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อยเป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาวุ้นสด - ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุดของต้นก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออกด้วยมีดสะอาดล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนังและทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล หรือขูดเอาวุ้นใสปิดพอกรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกแผลไหม้เกรียมจากแสงแดด และรังสี ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น อาจใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ เปลี่ยนวุ้นใหม่วันละครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย ใช้วุ้นสดกินรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี และใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้นสารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีน ชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง น้ำยางสีเหลืองจากใบ - เคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า "ยาดำ" เป็นยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่


มะกรูด Leech Lime, Kaffir LimeCitrus hystrix D.C. วงศ์ Rutaceae


ชื่อท้องถิ่น มะขูด มะขุน ส้มกรูด ส้มมั่วผี
ลักษณะ มะกรูดเป็นพืชที่ใช้เป็นเครื่องเทศมานานแล้ว โดยใช้ผิวของผลเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหลายชนิด ใช้เข้าเครื่องหอมโดยเป็นส่วนผสมในเทียนอบ ใบมะกรูดมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นในอาหารคาวหลายชนิดเช่น ต้มยำ แกงเผ็ด น้ำมะกรูดใช้ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาวปลาคนโบราณนิยมสระผมด้วยน้ำมะกรูด เพราะช่วยให้ผมดำเป็นมันไม่แห้งกรอบ คนไทยนิยมปลูกมะกรูดไว้ตามบ้านและในสวน มะกรูดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระมีปุ่มนูนและมีจุกที่หัวของผล ส่วนที่ใช้ คือ ใบและผล
สารสำคัญ ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอมระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลักส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล, ไอโซพูลิโกลและไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซีและกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ


มะละกอ PapayaMelon Tree, Carica papaya Linn.CARICACEAE

ชื่ออื่นก้วยลา (ยะลา), แตงต้น (สตูล), มะก้วยเทศ (เหนือ),ลอกอ (ใต้) หมักหุ่ง, มะเต๊ะ (ปัตตานี)
รูปลักษณะ ไม้ยืนต้น สูง 3 - 6 เมตร ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รอบต้นบริเวณยอดรูปฝ่ามือเว้าเป็นแฉกลึก 7 แฉก ขนาดใหญ่ ดอก มีหลายประเภท คือดอกตัวผู้ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกเดี่ยว หรือช่อ2 - 3 ดอก สีนวล ผล เป็นผลสด รูปยาวรี ทรงกระบอก หรือกลม เมล็ดสีดำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา รากและก้านใบ - ขับปัสสาวะ ยางขาวจากผลดิบมีเอ็นไซม์ย่อยโปรตีน ได้แก่ papain และ chymopapain ใช้ย่อยเนื้อสัตว์ให้เปื่อย นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องในอุตสาหกรรมยาใช้เอ็นไซม์ผลิตเป็นยาเม็ด ลดอาการบวมการอักเสบจากบาดแผล หรือการผ่าตัด ตำพอกแผลเรื้อรังฝีหนอง


ข่า Alpinia nigra B.L. Burtt Zingiberaceae

ชื่อสามัญ GALANGA
ส่วนที่ใช้เป็นยาเหง้าแก่สด มีรสเผ็ดปร่า ขนาดและวิธีใช้สำหรับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้เหง้าแก่สดหนัก 5 กรัมถ้าแห้ง 2 กรัม ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร จนกว่าอาการท้องอืดเฟ้อจะหาย
ขนาดและวิธีใช้สำหรับรักษากลากเกลื้อน เหง้าข่าแก่ตำ แช่ในเหล้าโรงไว้ 1 คืนใช้น้ำยาทาบริเวณที่เป็น โดยก่อนทาให้ใช้ไม้ไผ่บาง ๆที่ได้ฆ่าเชื้อแล้ว (ทำเช่นเดียวกับการใชกระเทียมรักษากลากเกลื้อน) ขูดบริเวณที่เป็นให้ผิวหนังแดง ๆ ทาบ่อย ๆ วันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย
สรรพคุณลดอาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยขับลม การที่ข่า สามารถลดอาการท้องอืดเฟ้อ และช่วยขับลมได้เพราะในเหง้าข่าแก่มีน้ำมันหอมระเหยออกฤทธิ์ขับลม- รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน การที่เหง้าข่าแก่ สามารถรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อนได้เพราะมีสารออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้ เป็นน้ำมันหอมระเหย


ขมิ้น
Curcuma longa Linn. วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่),หมิ้น (ภาคใต้)
ลักษณะ พืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดินเนื้อในของเหง้า ขมิ้นชันสีเหลืองเข้มจนสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาว ปลายแหลมคล้ายใบพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ออกตรงกลางระหว่างใบคู่ในสุด ดอกสีขาว มีแถบสีเหลืองคาด มีกลีบประดับสีขาวหรือเขียวการปลูก ขมิ้นชันชอบอากาศค่อนข้างร้อน และมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืนชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี วิธีปลูกใช้เหง้าแก่ ที่อายุ 11-12 เดือน เป็นท่อนพันธุ์ เก็บใช้ในช่วงอายุ 9-10 เดือน ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าสดและแห้ง
สรรพคุณยาไทยเหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบและ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด วิธีใช้ อาการแพ้อักเสบ แผล ฝีพุพอง แมลงสัตว์กัดต่อยภายนอก ใช้เหง้ายาวประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้นโรยทาบริเวณที่มีอาการ ผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ อาการ ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียดและอาหารไม่ย่อย ใช้เหง้าขมิ้น ไม่ต้องปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัด ๆ สัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอนถ้ามีอาการท้องเสียให้หยุดยาทันที
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ได้ศึกษาว่า ขมิ้นชันไม่มีพิษที่รุนแรง ทั้งในการใช้ระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์พบว่า น้ำมันหอมระเหย เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยได้ทำการศึกษา ทดลองในโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง ในผู้ป่วยที่มีอาการต่าง ๆได้แก่ ปวดแสบท้องเวลาหิว จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากมีลมในกระเพาะอาหารจุกเสียดท้อง เนื่องจากมีลมในกระเพาะอาหารและ ลำไส้ ผลจากการศึกษาเป็นที่น่าพอใจ ผู้ป่วยที่ได้รับขมิ้นชันมีอาการดีขึ้น และไม่พบ ผลแทรกซ้อนในการใช้จากการศึกษานี้พอสรุปได้ว่า ขมิ้นชันมีประสิทธิภาพดีในการใช้ จึงสมควรที่จะเผยแพร่และพัฒนาเป็นยาต่อไป


นำมาจาก
http://www.skn.ac.th/skl/skn42/samun68/index.htm
http://web.bangmod.ac.th/saranaru/samunpri/index.htm
http://www.khonthai.com/Vitithai/abb.htm

สถานที่ท่องเที่ยว



กำแพงเมืองจีน (จีนตัวเต็ม: 長城; จีนตัวย่อ: 长城; พินอิน: Chángchéng ฉางเฉิง) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์ก หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ
กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (จีนตัวเต็ม: 萬里長城; จีนตัวย่อ: 万里长城; พินอิน: Wànlĭ Chángchéng ว่านหลี่ฉางเฉิง) กำแพงเมืองจีนมีความยาวทั้งหมดถึง 6,350 กิโลเมตร และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย เชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศ จะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้
ระยะเวลาในการสร้าง
กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นในระยะเวลา 4 ช่วงหลัก ๆ ดังนี้
พ.ศ. 338 (ราชวงศ์ฉิน) 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
พ.ศ. 443 (ราชวงศ์ฮั่น)
พ.ศ. 1681 - 1741 (สมัย 5 ราชวงศ์ 10 อาณาจักร)
พ.ศ. 1911 - 2163 (รัชสมัยจักรพรรดิหงอู่ ต้นราชวงศ์หมิง)

ประวัติ
กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้นกว่า 2000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิ์องค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยกษัตริย์องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา
มีข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับกำแพงเมืองจีนดังนี้
1. เราไม่สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนจากดวงจันทร์ ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ แม้แต่อย่างเดียวที่สามารถมองเห็นจากดวงจันทร์ ในระดับ low earth orbit เราสามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนโดยใช้ radar การมองเห็นกำแพงเมืองจีนเป็นไปได้ยากเนื่องจาก สีของกำแพงเมืองจีนจะกลืนไปกับสีของธรรมชาติ ก็คือสีของดิน หิน
2. กำแพงเมืองจีนไม่ใช่กำแพงยาวตลอด ความจริงแล้วกำแพงเมืองจีน ถูกสร้างขึ้นในหลายยุคหลายสมัยกินเวลานับพันปี โดยเป็นการเชื่อมต่อกำแพงแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน จนเป็นแนวทอดยาวหลายพันกิโลเมตร
3. กำแพงเมืองจีนเป็นเสมือนสุสานของผู้ก่อสร้าง มีการบันทึกไว้ว่า นักโทษจากสงครามและทาสกว่า 1 ล้านคนถูกใช้เป็นแรงงงานเพื่อก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ซึ่งจำนวนมากเสียชีวิตลงเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย และความหิวโหย ซึ่งศพผู้เสียชีวิตก็จะถูกฝังอยู่ข้างใต้กำแพงนั่นเอง นานนับศตวรรษแล้ว ที่กำแพงเมืองจีนได้ชื่อว่าเป็นสุสานที่มีความยาวที่สุดในโลก เป็นที่กล่าวขานกันว่าทุกๆ หนึ่งฟุตของกำแพงเมืองจีนก็คือหนึ่งชีวิตของผู้ก่อสร้างกำแพง
4. ความยาวของกำแพงเมืองจีน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทราบความยาวที่แท้จริงของกำแพงเมืองจีน ในภาษาจีน จะเรียกกำแพงเมืองจีนว่า "กำแพงยาวหมื่นลี้" (หนึ่งลี้มีความยาวประมาณ 1/3 ไมล์) โดยคร่าวๆ กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 4 พันไมล์ หรือ 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร และกว้าง 5 เมตร
5. การก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ช่วยป้องกันการรุกรานได้หรือไม่ การเข้าครองอำนาจของมองโกล และแมนจู ทั้งสองครั้งเกิดขึ้นจากความอ่อนแอ ของราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในขณะนั้นๆ พวกเขาใช้โอกาสในขณะที่เกิดกบฏภายใน เข้ายึดครองประเทศจีน โดยมีการต่อต้านที่น้อยมาก
6. กำแพงเมืองจีนไม่ได้เป็นแค่กำแพง ทุกๆ 300 ถึง 500 หลา จะมีฐานบัญชาการเพื่อใช้สับเปลี่ยนเวรยามและใช้เป็นจุดสังเกตการณ์ มีหอสังเกตการณ์กว่า 1 หมื่นแห่ง
7. กำแพงเมืองจีนเป็นเส้นทางคมนาคม ในระยะแรก ประโยชน์ของกำแพงเมืองจีนก็คือ มันช่วยให้การคมนาคมและขนส่งในเส้นทางทุรกันดาร เช่นตามเทือกเขาเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น
8. กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นโดยใช้อะไรเป็นส่วนประกอบ ก่อนที่จะมีการใช้อิฐในการก่อสร้าง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้น โดยใช้หิน ดิน และไม้ บางครั้งมีการแพ็คดินไว้ระหว่างไม้แผ่นใหญ่ และมัดไว้ด้วยกันโดยเสื่อทอ บริเวณใกล้กรุงปักกิ่ง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างโดยใช้หินอ่อน ในบางสถานที่กำแพงถูกสร้างโดยใช้หินแกรนิต บางแห่งก็ใช้ดินเผา ทางตะวันตกของจีน กำแพงถูกสร้างโดยใช้โคลน ทำให้ชำรุดได้ง่ายกว่า กำแพงเมืองจีนที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ถูกสร้างในราชวงศ์หมิง โดยใช้วัตถุที่ทนทานกว่าเช่นหิน
9. สภาพของกำแพงเมืองจีนในขณะนี้ รายงานผลการสำรวจของนักอนุรักษ์เมื่อปี 2004 กล่าวว่า ขณะนี้ กำแพงเมืองจีนที่ยาว 6,350 กิโลเมตร เหลือให้เห็นเพียง 1/3 เท่านั้น และกำลังสั้นลงเรื่อยๆ ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดการดูแลและอนุรักษ์ โดยเฉพาะจากชาวไร่ชาวนาซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กำแพงเมืองจีน ไม่สนใจประกาศของรัฐบาลที่กำหนดให้กำแพงเมืองจีนเป็นสมบัติของชาติ







กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 332 - 339 โดยจิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นกำแพงอิฐที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งยาวประมาณ 2400 กิโลเมตร เพื่อป้องกันการรุกรานจากชาวตาตาร์ กำแพงสร้างด้วยดิน หิน และก่ออิฐโดยรอบ มีการสร้างป้อมปราการประมาณ 15,000 แห่ง มีฐานกว้างประมาณ 20 ฟุต ทางเดินกว้างประมาณ 12 ฟุต สูงประมาณ 25 ฟุต มีระฆังบอกเหตุประมาณ 20,000 หอ ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า 10 ปี โดยแรงงานของประชาชนนับล้านคนและมีผู้เสียชีวิตในระหว่างการสร้างประมาณหมื่นคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ปัจจุบันกำแพงเมืองจีนได้รับการบูรณะซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุดเสียหาย ซึ่งทำให้กำแพงเมืองจีนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสภาพสมบูรณ์สวยงาม
กำแพงเมืองจีน
เป็นที่กล่าวกันว่า นักบินอวกาศของสหรัฐ เมื่อโคจรอยู่นอกโลก มองลงมาสิ่งปลูก สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ที่พบเห็นเป็นสิ่งแรก คือ กำแพงเมืองจีน นั่นเอง จึงไม่น่าแปลกใจ ถึงความอลังการ์ของมัน กำแพงเมืองจีน หรือ ฉางเฉิง มีความยาว 6,700 กม. จากทางชายฝั่งตะวันออกที่ ซานไห่กวน ไปทางตะวันตกจบลงที่ เจียยู่กวน ในทะเลทรายโกบี
กำแพงเมืองจีน ถูกสร้างเมื่อ 2000 ปีมาแล้วในสมัยราชวงศ์ฉิน (221-207 BC) ในยุคของ จักรพรรดิ์ฉินฉือหวง กำแพงถูกแยกสร้างออกเป็นส่วนๆ โดยรัฐอิสระต่างๆ เพื่อป้องกันการรุกราน ของคนเถื่อนทางเหนือ และกำแพงเหล่านี้ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ปัจจุบันกำแพงส่วนใหญ่เสื่อมโทรม จนแทบไม่เหลือสภาพของความเป็นกำแพงอยู่เลย บางส่วนถูก กลืนเป็นฝุ่นทราย หรือซากบนภูเขา บางส่วนถูกตัดผ่านกลางเป็นถนน และทางรถไฟ มีเฉพาะบางส่วนที่ถูกบูรณะซ่อมแซมสำหรับนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชม โดยเฉพาะที่ปักกิ่ง สามารถเดินทางไปเที่ยวชมกำแพงเมืองจีนได้ 3 จุดที่มีชื่อเสียง คือ
Badaling changcheng
ปาต้าหลิง ตั้งอยู่ 70 กม.ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปักกิ่ง และเป็นที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ มาชมกำแพงเมืองจีนกันที่นี่ ปาต้าหลิงถูกบูรณะขึ้น เมื่อปี 1957 และกำแพงถูกปรับปรุงเป็นระยะ หลายร้อยเมตร แต่ถ้าเรายังคงเดินต่อไป จะพบส่วนของกำแพงซึ่งยังไม่ได้รับการบูรณะ เป็นอยู่ตามสภาพของมัน และนักท่องเที่ยวน้อย เดินกันมาไม่ถึง การเดินทางมาปาต้าหลิง ค่อนข้างสะดวก สามารถหาซื้อทัวร์ท้องถิ่นได้ทั่วไปในเมือง ซึ่งส่วนใหญ่จะนำมาเยี่ยมชมที่ ปาต้าหลิง
Mutianyu changcheng
มู่เถียนยู่ เป็นกำแพงเมืองจีนแห่งที่สอง ที่เปิดให้เข้าชม ตั้งอยู่ 90 กม.ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของปักกิ่ง มีสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น รถกระเช้า เช่นเดียวกับที่ ปาต้าหลิง ที่นี่จะมีนักท่องเที่ยว มาเที่ยวน้อยกว่าปาต้าหลิง สำหรับนักท่องเที่ยวที่มากันเอง ส่วนใหญ่จะมาที่นี่ ส่วนการหาซื้อทัวร์ ก็พอหาซื้อได้ ตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ แต่ต้องถามให้แน่ใจ ไม่เช่นนั้นทัวร์นั้น อาจนำท่านไป ปาต้าหลิงได้
Simatai changcheng
ซือหม่าไถ ถือว่าเป็นส่วนของกำแพงเมืองจีนที่มีความลาดชัน และค่อนข้างคงความเป็นสภาพปัจจุบันที่เสื่อมโทรม จึงมีความสวยงามเป็นอีกแบบ และที่นี่ไม่มี สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น รถกระเช้า หลายคนที่ไปเที่ยวชมมาแล้วกล่าวว่าที่นี่เป็นกำแพงเมืองจีน ที่งดงามที่สุด ซือหม่าไถ ตั้งอยู่ 110 กม.ตะวันออกเฉียงเหนือของปักกิ่ง ค่อนข้างไกลเมื่อเทียบกับ ที่อื่น และนักท่องเที่ยวยังมากันน้อย ทำให้การเดินทางโดยรถ ประจำทางไม่ค่อยสะดวก แต่ก็อาจ หาเหมารถจากปักกิ่ง ไปได้ ใช้เวลาในการเดินทาง 2-3 ชม
เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
กำแพงเมืองจีนได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 11 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา[1] ดังนี้
(i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
(ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
(vi) - มีความคิดและความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
เข้าดูได้ที่

http://th.upload.sanook.com/A0/1a6733c3e4b449d98c85ca1472747bb5

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552


























กำแพงงเมืองจีน

http://th.upload.sanook.com/A0/278f8c13e899621137672dca63026091

กำแพงเมืองงจีนมรดกโลก
กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 332 - 339 โดยจิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นกำแพงอิฐที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งยาวประมาณ 2400 กิโลเมตร เพื่อป้องกันการรุกรานจากชาวตาตาร์ กำแพงสร้างด้วยดิน หิน และก่ออิฐโดยรอบ มีการสร้างป้อมปราการประมาณ 15,000 แห่ง มีฐานกว้างประมาณ 20 ฟุต ทางเดินกว้างประมาณ 12 ฟุต สูงประมาณ 25 ฟุต มีระฆังบอกเหตุประมาณ 20,000 หอ ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า 10 ปี โดยแรงงานของประชาชนนับล้านคนและมีผู้เสียชีวิตในระหว่างการสร้างประมาณหมื่นคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ปัจจุบันกำแพงเมืองจีนได้รับการบูรณะซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุดเสียหาย ซึ่งทำให้กำแพงเมืองจีนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสภาพสมบูรณ์สวยงาม











ลูกยอ

ส่วนที่ใช้เป็นยา
ผลโตเต็มที่ มีรสขมเล็กน้อย เอียน
ขนาดและวิธีใช้
ใช้ผลดิบ หรือห่ามฝานเป็นชิ้นบาง ๆ ย่าง หรือคั่วไฟอ่อน ๆ ให้เหลือง ใช้ครั้งละ 2 กำมือ น้ำหนักประมาณ 10 - 15 กรัม
ต้มหรือชงน้ำดื่มจิบ แต่น้ำบ่อย ๆ ขณะที่มีอาการ ถ้าดื่มครั้งละมาก ๆ จะทำให้อาเจียน
สรรพคุณ
ใช้บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน การที่ผลโตเต็มที่แต่ยังไม่สุกของยอ ช่วยบรรเทาอาการ คลื่นไส้อาเจียนได้ เพราะมีสาร ASPERULOSIDE ซึ่งออกฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน