กะเพราOcimum sanctum Linn.Labiatae
ชื่อสามัญ HOLY BASIL, SACRED BASIL
ส่วนที่ใช้เป็นยาใบและยอด มีรสเผ็ดร้อน
ขนาดและวิธีใช้ ใช้ใบสด 1 กำมือ ประมาณ 20 กรัมหรือใบแห้ง 4 กรัม ต้มพอเดือด เอาน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม การที่กะเพราสามารถขับลมได้ เพราะในใบมีน้ำมันหอมระเหยอยู่เป็นจำนวนมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ocimum sanctum Linn.
วงศ์
Labiatae
ชื่อพื้นเมือง
ภาคกลาง กะเพราแดง, ภาคเหนือ กอมก้อ, พายัพ กอมก้อดึก
ลักษณะ
เป็นไม้พุ่ม โคนต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ปลายกิ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน ทุกส่วนมีขน โดยเฉพาะส่วนที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนปกคลุมมากกว่า ส่วนที่แก่ กระเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และกะเพราลูกผสม ใบ เดียว เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ รูปรีแกมขอบขนานขอบใบหยัก ใบมีขน สีของใบขึ้นอยู่กับพันธุ์ ถ้ากะเพราแดง แผ่นใบจะเป็นสีม่วงแดง กระเพราขาว ใบสีเขียวอ่อน สำหรับกะเพราลูกผสมนั้น ใบจะมีสีม่วงแดงอมเขียว บางใบสีจะออกม่วงแดงมาก ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ช่อยาว หนึ่งช่อจะออกเป็นชั้น ๆ ชั้นละ 8 ดอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 3 ดอก ออกจะบานตรงกลางก่อน และทั้งช่อใหญ่จะบานจากกลางขึ้นข้างบน ดอกย่อยมีใบประดับรูปใน กลีบตรงกลีบดอกจะคงทน และขยายใหญ่เมื่อเป็นผล กลีบดอกสีชมพูอ่อนจนถึงชมพูแก่ แบ่งเป็น 2 ปาก โดยกลีบด้านล่างติดกัน ผล แห้งมีขนาดเล็ก หนึ่งดอกมี 4 ผล รูปรีเกลี้ยง
ส่วนที่ใช้
ใบสด
สารที่สำคัญ
มีน้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอมคล้ายน้ำมัน Anise น้ำมันประกอบด้าย linallol, methyl chavicol, eugenol ocimol ฯลฯ
บำบัดอาการ
ขับลม
ขนาดและวิธีการใช้
เด็กแรกเกิด ใช้ใบกะเพรา 1 ใบ ตำให้ละเอียด เติมน้ำผิ้งเดือนห้า 1 ช้อนชา ใช้สำลีชุบน้ำยา 1-2 หยด หยอดเด็กแรกเกิด วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยขับขี้เท่า และคุมธาตุ
เด็ก ใช้ใบสด 3-5 ใบ ขยี้ทาท้องเด็ก ช่วยป้องกันท้องขึ้นเฟ้อ
ผู้ใหญ่ ใช้ใบและยอดสด 1 กำมือ ประมาณ25 กรัม ต้มพอเดือด ดื่มแต่น้ำวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร
หญิงหลังคลอด แกงเลียงใบกระเพราให้รับประทาน จะช่วยป้องกันท้องอืด ท้องเฟ้อ กะเพราแดง จะมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราชนิดอื่น ๆ และในยาไทยนิยมใช้กะเพราแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ocimum sanctum Linn.
วงศ์
Labiatae
ชื่อพื้นเมือง
ภาคกลาง กะเพราแดง, ภาคเหนือ กอมก้อ, พายัพ กอมก้อดึก
ลักษณะ
เป็นไม้พุ่ม โคนต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ปลายกิ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน ทุกส่วนมีขน โดยเฉพาะส่วนที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนปกคลุมมากกว่า ส่วนที่แก่ กระเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และกะเพราลูกผสม ใบ เดียว เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ รูปรีแกมขอบขนานขอบใบหยัก ใบมีขน สีของใบขึ้นอยู่กับพันธุ์ ถ้ากะเพราแดง แผ่นใบจะเป็นสีม่วงแดง กระเพราขาว ใบสีเขียวอ่อน สำหรับกะเพราลูกผสมนั้น ใบจะมีสีม่วงแดงอมเขียว บางใบสีจะออกม่วงแดงมาก ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ช่อยาว หนึ่งช่อจะออกเป็นชั้น ๆ ชั้นละ 8 ดอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 3 ดอก ออกจะบานตรงกลางก่อน และทั้งช่อใหญ่จะบานจากกลางขึ้นข้างบน ดอกย่อยมีใบประดับรูปใน กลีบตรงกลีบดอกจะคงทน และขยายใหญ่เมื่อเป็นผล กลีบดอกสีชมพูอ่อนจนถึงชมพูแก่ แบ่งเป็น 2 ปาก โดยกลีบด้านล่างติดกัน ผล แห้งมีขนาดเล็ก หนึ่งดอกมี 4 ผล รูปรีเกลี้ยง
ส่วนที่ใช้
ใบสด
สารที่สำคัญ
มีน้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอมคล้ายน้ำมัน Anise น้ำมันประกอบด้าย linallol, methyl chavicol, eugenol ocimol ฯลฯ
บำบัดอาการ
ขับลม
ขนาดและวิธีการใช้
เด็กแรกเกิด ใช้ใบกะเพรา 1 ใบ ตำให้ละเอียด เติมน้ำผิ้งเดือนห้า 1 ช้อนชา ใช้สำลีชุบน้ำยา 1-2 หยด หยอดเด็กแรกเกิด วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยขับขี้เท่า และคุมธาตุ
เด็ก ใช้ใบสด 3-5 ใบ ขยี้ทาท้องเด็ก ช่วยป้องกันท้องขึ้นเฟ้อ
ผู้ใหญ่ ใช้ใบและยอดสด 1 กำมือ ประมาณ25 กรัม ต้มพอเดือด ดื่มแต่น้ำวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร
หญิงหลังคลอด แกงเลียงใบกระเพราให้รับประทาน จะช่วยป้องกันท้องอืด ท้องเฟ้อ กะเพราแดง จะมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราชนิดอื่น ๆ และในยาไทยนิยมใช้กะเพราแดง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น