วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

น้ำส้มแขก

ส่วนผสม
- ส้มแขกตากแห้ง 1 ถ้วย
- น้ำสะอาด 8 ถ้วย- น้ำตาลทราย 1-2 ถ้วย
- เกลือป่น 2-3 ช้อนชา
วิธีทำ
เลือกส้มแขกที่ตากแห้งใหม่ๆ ต้มกับน้ำ ต้มเคี่ยว 10 นาที แล้วกรองเอากากออก เติมน้ำตาลทราย เกลือป่น ชิมรสตามต้อง การ จะได้น้ำส้มแขกสีน้ำตาลแดง รสเปรี้ยว อมหวานเค็มเล็กน้อย

น้ำดอกคำฝอย

ส่วนผสม
- ดอกคำฝอย 1 กรัม
- น้ำต้มสุก 1 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
เลือกดอกคำฝอยใหม่ ๆ จะมีสีแดงสด มีกลิ่นหอม ถ้าเป็นดอกที่เก่าเก็บจะมีสี แดงอมน้ำตาล กลิ่นไม่หอม ชงด้วยน้ำ เดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 3-5 นาที กรองด้วย ผ้าขาวบาง จะได้น้ำดอกคำฝอยสีเหลือง ส้ม เติมน้ำตาลทราย ดื่มเป็นครั้งคราว


น้ำว่านหางจระเข้

ส่วนผสม
- ใบว่านหางจระเข้ 2 ใบ
- น้ำต้มสุก 1 ถ้วย
- น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย
วิธีทำ
เลือกใบว่านหางจระเข้ ที่มีขนาดใหญ่ โต เต็มที่ ปอกเปลือกล้างน้ำให้หมดยางสีเหลือง ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำต้มสุก ปั่นให้ละเอียด กรองด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมเล็กน้อย ใส่ขวดเก็บไว้ในตู้เย็น ควรเตรียมดื่มไม่เกิน 2 วัน



น้ำมะนาว

ส่วนผสม
- น้ำมะนาว 1 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- น้ำสะอาด 1 ถ้วย
วิธีทำ
1.ทำน้ำเชื่อม โดยผสมน้ำตาลและน้ำ ตั้งไฟให้ละลาย ทิ้งไว้ให้พออุ่น ๆ
2.ใส่น้ำมะนาว เกลือ ลงในน้ำเชื่อม คนให้ เกลือละลาย
3.ตักเสิร์ฟแบบอุ่นหรือเย็นก็ได้ โดยใส่น้ำแข็งลงในแก้ว เทน้ำมะนาวใส่ แต่งด้วยมะนาวฝาน และสะระแหน่





น้ำกล้วยหอม

ส่วนผสม
- กล้วยหอมหั่นท่อนสั้น 1 ถ้วย
- นมสด 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
- เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
- น้ำต้มสุก 1 ถ้วย
- น้ำแข็งบด 1 ถ้วย
วิธีทำ
1.ใส่กล้วยหอม นมสด น้ำเชื่อม เกลือ ป่น น้ำแข็ง และน้ำต้มลงในโถปั่น ปั่น ให้เข้ากันดี
2.เทใส่แก้วทรงสูง เสริ์ฟพร้อมหลอด ดูดและไม้คน หรือแช่เย็นไม่ใส่น้ำแข็ง



น้ำกระเจี๊ยบ

ส่วนผสม
- กระเจี๊ยบแห้ง 1/2 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
- เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำสะอาด 5 ถ้วย
วิธีทำ
1.ล้างกระเจี๊ยบ 1 ครั้งให้สะอาดพักไว้
2.ใส่น้ำลงในหม้อ ตั้งไฟพอเดือด ใส่ กระเจี๊ยบต้มจนออกสีแดง และเนื้อกระ เจี๊ยบนุ่ม กรองเอาแต่น้ำ ขึ้นตั้งไฟต่อ
3.ใส่น้ำตาล เกลือป่น เคี่ยวไฟอ่อน จนน้ำตาลละลายหมด ยกลง ทิ้งไว้ให้ เย็น เทใส่ขวดแช่เย็น หรือใส่น้ำแข็ง ดื่มก็ได้





น้ำตะไคร้

ส่วนผสม
- ตะไคร้ 20 กรัม(1ต้น )
- น้ำเชื่อม 15 กรัม( 1 ช้อนคาว )
- น้ำเปล่า 240 กรัม( 16 ช้อนคาว )
วิธีทำ
นำตะไคร้มาล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนสั้น ทุบให้แตก ใส่หม้อต้มกับน้ำ ให้เดือดกระทั่งน้ำตะไคร้ออกมาปนกับน้ำจนเป็นสีเขียวสักครู่จึงยกลง กรองเอาตะไคร้ออก เติมน้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ หรืออาจเอาเหง้าแก่ ที่อยู่ใต้ดิน ล้างให้สะอาดฝานเป็นแว่นบางๆคั่วไฟอ่อนๆพอเหลือง ชงเป็นชา ดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชา จะช่วยขับปัสสาวะให้สะดวก
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร : มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับอาหารคุณค่าทางยา : แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อได้ดี ช่วยลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตสูง



น้ำแครอท

ส่วนผสม
น้ำเชื่อมเข้มข้น 8ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 2ช้อนโต๊ะ เกลือ 1ช้อนชา
แครอทหั่นเล็กๆ 3ช้อนโต๊ะ
น้ำสุก 2แก้ว
วิธีทํา
1.ล้างแครอทให้สะอาด
2.หั่นเป็นชิ้นเล็กๆเติมนําปั่นให้ละเอียด
3.ผสมนําเชือม นํามะนาว เกลือเติมตามส่วนผสมให้เข้ากัน
4.ใส่นําแข็งบดก่อนเสริฟ
คุณค่าทางโภชนาการ
สําหรับ1ที่พลังงาน 106.66กิโลแครอรี่วิตามินเอ 349.66ไมโครกรัม




น้ำใบบัวบก

ส่วนผสม
บัวบกทั้งต้น 30กรัม
น้ำเชื่อม 4ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่าต้มสุก 240กรัม
วิธีทํา
1.นําต้นบัวบกล้างให้สะอาด
2.หั่นเป็นท่อนสั้นๆ ใส่ลงในเครื่องปั่นเติมนําพอท่วมบัวบก
3.ปั่นให้ละเอียด กรองเอาแต่นํา เติมนําเชื่อมตุณค่าทางโภชนาการพลังงาน 92กิโลแคลอรี่วิตามินเอ 354ไมโครกรัม




น้ำฝรั่ง

ส่วนผสม
เนื้อฝรั่งสด 300กรัม
น้ำตาลทราย 200กรัม
เกลือ 8กรัม น้ำ 6ถ้วย
วิธีทํา
1.ล้างฝรั่งให้สะอาด
2.ฝานเอาแต่เนื้อ หั่นชิ้นเล็กๆ
3.ปั่นฝรั่งกับนําจนเนื้อฝรั่งละเอียด ตั้งไฟ ใส่นําตาล เกลือ
4.พอเดือด ยกลง ใส่นําแข็งบดก่อนเสริฟคุณค่าทางโภชนาการพลังงาน 115กิโลแครอรี่วิตามินซี 60มิลลิกรัมใยอาหาร 2.3กรัม






น้ำข้าวโพด
ส่วนผสม
ข้าวโพดหวาน 30กรัม
น้ำเชื่อม 20กรัม
น้ำเปล่าต้มสุก 240กรัม
วิธีทํา
1.ข้าวโพดหวานนึ่งสุกแกะเอาแต่เมล็ด
2ปั่นกับน้ำจนละเอียดเติมน้ำเชื่อมเกลือ แช่เย็น
คุณค่าทางโภชนาการพลังงาน
133.47กิโลแคลอรี่วิตามินเอ130.50มโครกรัม

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อาหารเพื่อสุขภาพ

ไก่อบหอมใหญ่

เครื่องปรุง
เนื้ออกไก่ไม่เอาหนัง 80 กรัม หอมใหญ่ซอยบางตามขวาง 50 กรัม มะเขือเทศหั่นหยาบ 1 ลูก ผักชีฝรั่ง (pasley) สับหยาบ 1 ช้อนโต๊ะ สับปะรดหั่นชิ้น 5 ชิ้น ออริกาโน 1 ช้อนชา เกลือป่น 1/4 ช้อนชา พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา ซอสปรุงรส 1/2 ช้อนชา น้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา ผักสด เช่น ผักกาดหอม แตงกวา มะเขือเทศ
วิธีทำ
1. ล้างไก่ พักให้สะเด็ดน้ำ ใส่อ่างผสมไว้
2. ใส่เกลือ พริกไทย ออริกาโน ซอสปรุงรส น้ำมันมะกอก คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไก่มาหมักไว้ 20 นาที
3. วางไก่ที่หมักลงในหม้ออบ โรยหอมใหญ่ข้างบน โรยมะเขือเทศ ผักชีฝรั่ง นำเข้าเตาอบ อบไฟ 300 องศาฟาเรนไฮต์ พอสุกเหลือง เอาออกจากเตา ตักใส่จาน รับประทานกับผักสดและสับปะรด
คุณค่าทางอาหาร
อาหารที่รับประทานแล้วไม่อ้วน เป็นอาหารพลังงานต่ำก็จริง แต่มิได้หมายความว่าใส่น้ำมันไม่ได้เลย เพราะการใส่น้ำมันนี้ทำให้อาหารมีสารอาหารหลากหลาย โดยใส่ในปริมาณที่ร่างกายต้องการ เท่านั้นถ้าใส่มากเกินไปน้ำมันก็กลายเป็นศัตรูตัวร้ายเลยทีเดียว และน้ำมันนี้ต้องเลือกเป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันที่จำเป็นสูงจะดีส่อสุขภาพ น้ำมันเหล่านี้ยังทำให้อาหารมีความนุ่มอร่อย "ไก่อบหอมใหญ่" กินกับข้าว หรือขนมปังได้ทั้งนั้น แล้วแต่ความชอบ ถ้าเป็นข้าวที่ไม่ขัดสีจนขาวอย่าง ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ และขนมปังถ้าเป็นโฮลวีทก็ยิ่งดี เพราะมีวิตามินสูง เส้นใยมากร่างกายยัง ใช้พลังงานในการย่อยมากกว่าข้าวขาว กินก็อิ่มเร็วอิ่มนาน ไม่อ้วน เมื่อกินกับข้าวกล้องสุก 1/2 ถ้วย หรือขนมปังโฮลวีท 1 แผ่น จะได้พลังงานเพิ่มอีก 70 แคลอรี อาหารมื้อนี้จึงมีพลังงานประมาณ 210 แคลอรี พอเหลือแคลอรีสำหรับกินผลไม้ได้อีก อย่างส้มก็กินได้ 1 ลูก มะละกอ และสับปะรดก็กินประมาณ 6 ชิ้นเล็ก ซึ่งได้พลังงาน 40 แคลอรี รวมพลังงานมื้อนี้ประมาณ 250 แคลอรี


ลูกชิ้นแครอท

เครื่องปรุง
- แครอทปอกเปลือกบางๆ แล้วหั่นเป็นแว่นบางๆ 2 หัว
- ขิงสดสับละเอียด 1 ช้อนชา- หอมแดงสับละเอียด 2 หัว- น้ำมันงา
- ไข่ 1 ฟอง ตีให้แตก- แป้งข้าวโพด 1 ถ้วย-เกลือป่น 1/2 ช้อนชา- พริกไทยป่น
- งาขาว 1 ถ้วย- สับปะรดหั่นเป็นแว่น 1/2 ลูก
- มะเขือเทศสีดาลูกเล็ก 20 ลูก
วิธีทำ
- นำแครอทไปต้มในน้ำเดือดที่ผสมเกลือนิดหน่อย จนกระทั่งแครอทมีเนื้อนุ่ม ตักแครอทขึ้นแล้วบดให้ละเอียด
- บีบน้ำขิงที่สับละเอียดผสมลงไปในแครอทที่บดแล้ว เติมหอมแดงที่สับละเอียด ใส่น้ำมันงานิดหน่อย พร้อมกับเทไข่ที่ตีไว้ลงไป คลุกเคล้าให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
- ปั้นแครอทเป็นก้อนกลมๆ คลุกลูกชิ้นแครอทกับแป้งข้าวโพดและเมล็ดงา- ใส่น้ำมันงาลงกระทะ ตั้งไฟพอร้อนปานกลาง ใส่ลูกชิ้นแครอทลงทอดจนเหลือง ตักขึ้นวางบนกระดาษซับมัน
- รอจนเย็นแล้วค่อยนำมาเสียบไม้สลับกับสับปะรดและมะเขือเทศ จัดเสิร์ฟพร้อมซอสพริกหรือน้ำจิ้มบ๊วยสำหรับเด็ก การที่จะให้เด็กๆ กินแครอทล้วนๆ เป็นเรื่องยากทีเดียว หรือแม้แต่ผู้ใหญ่บางคน ดังนั้น แต่ถ้าเราใช้เทคนิคการปรุงให้ดูคุ้นตาน่ารับประทาน เราก็จะได้รับประโยชน์จากผักชนิดนี้อย่างมาก เพราะการกินแครอทเป็นการช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคมะเร็งและรักษาโรคตาบอดตอนกลางคืนและยังมีผักชนิดต่าง ๆ อีก คือ ขิงสด แก้อาเจียน รักษาโรคหวัด หอมแดง ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แก้ไข้หวัด ปวดท้อง ท้องผูก งาขาว ช่วยระบายท้อง รักษาโรคโลหิตจาง ท้องผูก สับประรด แก้อาหารไม่ย่อย อาเจียน ท้องอืด ซึ่งอาหารจานนี้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายตามหลักของชีวจิต



โจ๊กเห็ดหอม

ส่วนผสม
โจ๊กเห็ดหอมเห็ดหอมหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆซีอิ๊วขาวข้าวที่เหลือจากต้มน้ำ R.C.กระเทียม พริกไทย รากผักชี ตำรวมกันไห้ละเอียด
วิธีทำ
เติมน้ำลงไปในข้าว ต้มจนเละหน่อย ส่วนเห็ดหอมแห้งเอาไปแช่น้ำก่อน หั่นเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็กๆหรือถ้ามีเห็ด หอมสดด้วยยิ่งดีแต่สำหรับบางคนที่รู้สึกว่าเห็ดหอมย่อยยากก็ควรเอาเห็ดหอมที่แช่น้ำไว้ไปปั่นให้ละเอียดเลย เอาน้ำมันนิดหน่อยผัดกับกระเทียม รากผักชี แล้วเอาเห็ดหอมลงไปผัดให้หอม เติมซีอิ๊วขาวหน่อยหนึ่ง จากนั้นเติมโจ๊กที่เราต้มไว้ลงไปโรยด้วยขิงอ่อนที่เราซอยไว้ละเอียดต้นหอมผักชีหั่นไว้ พริกไทยหน่อยหนึ่ง ถ้าชอบก็อาจจะเอาวุ้นเส้นที่เราแช่น้ำมันนิดหน่อย หรือโปรตีนเกษตรอย่างละเอียด เอาไปทอด ใช้โรยหน้าโจ๊ก ถ้าปกติชอบปาท่องโก๋เราใช้แคบหมูเจแทนได้ ถ้ามีเด็กแล้วอยากใส่ไข่หยวนค่ะ เอาไข่ใส่ลงไปในโจ๊กได้





ปลานึ่งเต้าซี่

เครื่องปรุง
ปลากะพงหรือปลาเก๋าหั่นเป็นชิ้น 2 ขีด
เต้าซี่ล้างน้ำให้สะอาด 2 ช้อนโต๊ะ
เห็ดหอมแห้งแช่น้ำหั่นเป็นชิ้นยาวหรือสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 3 ดอก
เต้าหู้แข็งหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1/4 ถ้วย
กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำแช่เห็ดหอม 1/4 ถ้วย
น้ำตาลทรายแดง 2 ช้อนชา
พริกชี้ฟ้าแดงหั่นแฉลบ 1 เม็ด
ต้นหอมหั่นเป็นท่อนสั้น 1/2 ถ้วย
น้ำมันสำหรับผัด 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ล้างปลาให้สะอาดใส่จาน นึ่งในลักถึงให้สุก
2. เจียวกระเทียมในน้ำมันให้เหลือง ใส่เต้าซี่ลงผัดพอหอม ใส่เต้าหู้ เห็ดหอมลงไปพร้อมซีอิ๊วขาว น้ำตาลทรายแดง และน้ำเปล่า
ผัดพอสุก ใส่พริกชี้ฟ้าและต้นหอม คนพอเข้ากัน ตักราดบนปลาซึ่งนึ่งสุกพอดี เสิร์ฟร้อนๆ
คุณประโยชน์
เต้าซี่เป็นถั่วเหลืองพันธุ์ดำ ซึ่งมีวิธีการหมักเฉพาะตัว จะมีกลิ่นและรสแตกต่างไปจากเต้าเจี้ยว
นำเต้าซี่มาใช้เป็สส่วนผสมในจากนี้ ซี่งเป็นเมนูสุขภาพเกือบเต็มร้อย เพราะมีปลาเป็นหลัก มีเต้าหู้กับเต้าซี่เป็นส่วนประกอบ
รสชาติค่อนข้างออกไปทางอาหารจีนบนเหลา ได้โปรตีนจากปลา จากเต้าหู้ และจากเต้าซี่
เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี มีประโยชน์ทั้งจาน



ผัดหอมใหญ่หมูพริกสด

ส่วนประกอบ
เนื้อสันในหมู 100 กรัม
น้ำสต็อกไก่ 2 ช้อนโต๊ะ
หอมหัวใหญ่ 2 หัว
กระเทียมสับหยาบ
พริกชี้ฟ้าเขียวแดง อย่างละ 2 เม็ด
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาล 2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. ล้างเนื้อหมูสันใน หลังจากนั้น นำมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ
2. ปอกเปลือกหอมหัวใหญ่ หั่นเป็นเสี้ยวหนาประมาณ 1 ซม. ส่วนพริกชี้ฟ้าให้หั่นแฉลบ
3. ตั้งไฟให้ร้อน นำกระเทียมลงไปเจียวพอเหลือง หลังจากนั้น นำหมูลงไปผัดพอสุก
4. ใส่น้ำสต็อกไก่ หอมใหญ่ พริกชี้ฟ้าลงไป จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาล คุณประโยชน์ที่ได้รับหอมหัวใหญ่
สรรพคุณ
ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และยังช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ทั้งยังช่วยขับปัสสาวะ และเสมหะอีกด้วย พริกชี้ฟ้า มีสารช่วยลดน้ำตาลได้คือ แคปไซซิน และช่วยให้สีสันในอาหารน่ารับประทาน





ต้มจืดเห็ดแกงจืดเห็ด

ส่วนประกอบ
1.รากผักชี
2. กระเทียม
3. พริกไทย
4. แตงกวา
5. เห็ดหอม
6. หอมใหญ่
7. ซีอิ้วขาว
8. ตั้งฉ่าย
9. พุทธาจีน
วิธีทำแกงจืดเห็ด
1. นำ กระเทียม พริกไทย รากผักชี ไปผัดกับน้ำมันให้หอม ใส่ตั้งฉ่ายลงไป
2. ตักส่วนผสมที่ผัดไว้แล้วใส่หม้อ เติมน้ำร้อนพอประมาณ ใส่พุทธาจีน ที่คว้านเอาเมล็ดออก ต้มสักพักหนึ่ง3. พอเดือด ใส่เห็ดหอมที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไป ถ้ามีเห็ดหูหนูดำก็ใส่ลงไปด้วย
4. นำหอมใหญ่ (หั่น 4 ส่วน) ใส่ลงไป พร้อมกับใส่แตงกวา
5. ชิมรสชาติและปรุงรสตามชอบ และรอให้น้ำเดือดจึงยกลง
สรรพคุณของอาหารจานนี้คือ
รากผักชี จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ถอนพิษ และบำรุงกระเพาะอาหาร
กระเทียม บำรงกระเพาะอาหาร ระงับไอ ขจัดเสมหะ ป้องกันท้องอืด แก้โรคหลอดเลือดอุดตัน
แตงกวา มีวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินดี แก้ร้อนใน รักษาอาการไอ ขับปัสสาวะ
เห็ดหอม แก้อาเจียน ป้องกันโรดเลือดแข็งตัว แก้ขัดเบา แก้มะเร็งในกระเพาะอาหาร
เห็ดหูหนูดำ ช่วยลดความดันโลหิต มีสารต้านมะเร็ง มีวิตามินช่วยในการดูดซึม
พุทธาจีน แก้ผอมแห้งแรงน้อย แก้อาการนอนไม่หลับ แก้โลหิตจาง lde
.เห็ด นำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ทำแกงจีด ต้มยำ ผัดเห็ด ยำเห็ด ข้าวต้ม ฯลฯ เห็ดทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดเหล่านี้นับว่ามีคุณค่าทางโภชนาการ มีประโยชน์ต่อร่างกาย เราเป็นอย่างมาก ธาตุอาหาร มีอยู่ในเห็ด โดยรวมแล้วก็จะมี สารอาหารประเภท วิตามินเอ วิตามินบี2 น้ำ โปรตีน ฯลฯ นอกจากนี้เห็ดยังมีคุณสมบัติป้องกันโรคกระดูกอ่อน ใช้บำรุงสำหรับคนมีโลหิตน้อย เป็นยาอายุวัฒนะ บรรเทาอาการไข้หวัด ลดไขมันในเส้นเลือดได้ แต่เห็ดนั้นก็ยังมีผลเสียคือ ถ้าเกิดกินเห็ดพิษเข้าไป ก็อาจจะต้องเสียชีวิตได้ และคนที่เป็นอีสุกอีใสก็ ห้ามกินเห็ดทุกชนิด ดังนั้นจึงควรเลือกกินเห็ดอย่างระวัง


แกงเลียงข้าวโพด

เครื่องปรุง
ข้าวโพดฝานเอาเมล็ด 1 1/2 ถ้วย
กุ้งแชบ๊วย 5 ตัว กุ้งแห้งโขลก 2 ช้อนโต๊ะ
บวบหั่นชิ้นพอคำ 1 ถ้วย
ฟักทองหั่นชิ้นเล็ก 1/2 ถ้วย
แมงลักเด็ดเป็นใบ 1/4 ถ้วย
หอมแดงซอย 1/4 ถ้วย
พริกไทยเม็ด 5 เม็ด
น้ำปลาดี 2 ช้อนโต๊ะ
กะปิ 2 ช้อนชา
น้ำซุปไก่ 2 1/2 ถ้วย
วิธีทำ
1. โขลกหอมแดง พริกไทย กุ้งแห้ง กะปิ เข้าด้วยกันให้ละเอียด
2. ล้างกุ้ง แกะเปลือก เด็ดหัวไว้หาง ชักเส้นดำออก
3. ใส่น้ำซุปลงในหม้อ ตั้งไฟพอเดือด ใส่เครื่องที่โขลกในข้อ 1 คนให้ทั่ว
4. ใส่ข้าวโพดลงในหม้อ เคี่ยวพอข้าวโพดสุก ใส่ฟักทอง บวบ พอผักสุก ใส่กุ้ง
5. ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่ใบแมงลัก คนพอทั่ว ตักใส่ชาม เสิร์ฟร้อนๆ
คุณค่าของอาหาร
1. ข้าวโพด มีวิตามินเอ และเส้นใยอาหารมาก แก้อาการปัสสาวะลำบาก บำรุงกระเพาะ
2. กุ้ง เพิ่มน้ำนม
3. บวบ บำรุงธาตุ บำรุงน้ำดี
4. แมงลัก แก้ท้องผูก
5. หอมแดง เป็นยาช่วยขับลมในลำไล้ ใช้แก้หวัด
6. พริกไทย แก้โรคปอดบวมในท้อง
หมายเหตุ อาหารจานนี้ ไม่เพียงมีโคลีนที่ได้จากข้าวโพดเท่านั้น ยังได้แคลเซียมจากกะปิสารลูตินและซีแซนตินในพริกไทย ซึ่งสารซีแซนตินนี้จะช่วยป้องกันความเสื่อมของเนื้อเยื่อดวงตาและถ้ากินแกงเลียงถ้วยนี้แล้ว ก็รับรองว่าช่วยไล่หวัดได้อย่างดีอีกด้วย


ผัดกะเพราเห็ดฟาง

ส่วนผสม
เห็ดฟางปอกโคลนออก ถ้าดอกใหญ่ หั่นครึ่งใบกะเพราเด็ดเอาแต่ใบพริกขี้หนูแดงโขลกกับกระเทียมและรากผักชีซอสปรุง น้ำปลาหรือซีอิ๊วขาว
วิธีทำ
1.เอาน้ำมันดอกทานตะวันหรือถั่วเหลืองใส่ลงในกระทะ
2.ถ้าอยากให้มีกลิ่นน้ำมันงาก็ใส่น้ำมันงา
3.เอาพริกที่โขลกใส่ลงผัดให้หอม
4.เอาเห็ดฟางใส่ คลุกให้ทั่ว
5.สุดท้ายใส่ใบกะเพรา
6.ชิมสักนิด เติมน้ำปลาหรือซีอิ๊วขาวก็เสร็จแล้ว
คุณค่าทางอาหาร
เห็ดฟางเห็ดนับว่ามีคุณค่าทางโภชนาการ มีประโยชน์ต่อร่างกายเราเป็นอย่างมาก ธาตุอาหารที่มีอยู่ในเห็ดโดยรวมแล้วก็จะมีสารอาหารประเภท วิตามินเอ วิตามินบี 2 น้ำ โปรตีน ฯลฯคุณประโยชน์จากเห็ดก็มิใช่ย่อย สามารถปกป้องเราได้มากมาย เช่น
1.ป้องกันโรคกระดูกอ่อน
2.ใช้บำรุงสำหรับคนที่มีโลหิตน้อย
3.รักษาอาการเวียนศีรษะเป็นประจำในผู้หญิง
4.บรรเทาไข้หวัด อาการปวดศีรษะ
5.เป็นยาอายุวัฒนะ
6.แก้ปวดประสาท
7.สามารถลดไขมัน ในเส้นเลือดได้หมายเหตุ ห้ามให้เด็กที่ออกหัดหรือเป็นอีสุกอีใสรับประทานเห็ด ไม่ว่าจะเป็นเห็ดชนิดใดก็ตาม
ใบกะเพรา
ใบกะเพราสดน้ำหนัก 100 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.0 กรัม โปรตีน 2.7 กรัม ใยอาหาร 1.3 กิโลกรัม แคลเซียม 310 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 51 มิลลิกรัม เหล็ก 2.2 มิลลิกรัมสรรพคุณทางยา
ใบสดใช้บำรุงธาตุไฟ ขับลม แก้ปวดท้อง จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ แก้ท้องอืด และแก้โรคกระเพาะ
กระเทียม
กระเทียมมีรสเผ็ด มีกลิ่นช่วยกระตุ้นประสาท มีสารแคลเซียม ฟอสฟอรัสและเหล็ก มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ บิด อหิวาห์ คอตีบ และปอดบวม บำรุงกระเพาะ ระงับไอ ขจัดเสมหะ ป้องกันการท้องอืด แน่นท้อง จุกเสียด แก้โรคหลอดเลือดอุดตัน ปวดศีรษะข้างเดียว เป็นการถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับปัสสาวะ เพิ่มพูนกำลังวังชาและฆ่าเชื้อโรค ทั้งยังช่วยดูดซับโปรตีนในร่างกายที่จับตัวแข็งได้ดี
พริกพริก
ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร ทำให้หลอดลือดอ่อนตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดความดันเลือด ช่วยทำให้เลือดหมุนเวียน ช่วยขับลม และช่วยอาการคลื่นไส้อาเจียน



ต้มยำกุ้งต้มยำกุ้ง

ต้มยำเป็นการปรุงอาหารชนิดหนึ่งของคนไทยประเภทน้ำแกง เครื่องเทศที่ขาดไม่ได้เลย คือ
ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกขี้ หนูน้ำมะนาว
ต้มยำทำได้หลายชนิดมีทั้งต้มยำปลาต้มยำเห็ดต้มยำไก่และต้มยำกุ้งสำหรับต้มยำกุ้งนับเป็นอาหารไทย
ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกทั้งในแง่ความอร่อยและยังเป็นอาหารจานสมุนไพรต้านมะเร็งอีกด้วย
ต้มยำกุ้งตำรับดั้งเดิมนั้นน้ำแกงใสมีกลิ่นหอมปัจจุบัยต้มยำกุ้งถูกดัดแปลงให้น้ำข้นสีสวยด้วยน้ำพริกเผาหรือบาง
ครั้งก็เติมน้ำกะทิหรือนมสดลงไป

เครื่องปรุง
กุ้งกุลาดำ น้ำหนักตัวละ 100 กรัม 5 ตัว
เห็ดฟางผ่าครึ่ง 100 กรัม
พริกขี้หนูสวนทุบพอแตก 10 เม็ด
ข่าอ่อนหั่นแว่น 5 แว่น
ตะไคร้หั่นเฉียง 1 ต้น
ใบมะกรูดฉีก 3 ใบ
น้ำปลา 3 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำซุป 3 ถ้วย
วิธีทำ
1. ล้างกุ้ง แกะเปลือก เด็ดหัวไว้หาง ผ่าหลัง ดึงเส้นดำออก
2. ใส่น้ำซุปลงในหม้อ ตั้งไฟกลางพอเดือด ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เดือดอีกครั้ง
3. ใส่กุ้ง เห็ดฟาง พอกุ้งสุกเป็นสีชมพู เดือดอีกครั้ง ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว ใส่พริกขี้หนู ยกขึ้น
4. ตักใส่ชาม รับประทานร้อน ๆ




แกงส้ม
ส่วนผสม
1. ปลาช่อน ควรจะเป็นปลาช่อนนาที่เลี้ยงโดยธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการซื้อปลาช่อนเลี้ยง แล้วนำมาล้างทำความสะอาด หั่นเป็นชิ้น ๆ ส่วนหนึ่งนำไปทอดในน้ำมันให้กรอบ อีกส่วนหนึ่งนำไปต้มในน้ำเดือดให้สุก(หรืออาจจะยังไม่ต้องต้มก็ได้)
2. ดอกแค เลือกเอาดอกอ่อนๆ แล้วควักเอาเกสรออก ล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำทิ้งไว้
3.ผักกวางตุ้ง เด็ดเป็นใบๆ ล้างน้ำผ่านให้สะอาด หั่นเป็นท่อนทั้งใบและก้าน แล้วแช่น้ำพักไว้
4. ดอกกะหล่ำ หั่นเป็นช่อเล็กๆ แล้วแช่น้ำไว้ทิ้งไว้
5. ผักบุ้ง นำไปล้างน้ำผ่านให้สะอาด แล้วเด็ดเป็นท่อนๆ
6. หัวไชเท้า ปอกเปลือกก่อนแล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด หั่นตามยาวเป็นท่อนเล็ก พอดีคำ
7. ถั่วฝักยาว ล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นเป็นท่อนๆ
8. ผักกระเฉด เด็ดฟองน้ำนุ่มๆ ที่เรียกว่า "นม" ออกเสียก่อน แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด เด็ดเป็นท่อนๆ
ส่วนผสมเครื่องแกง
1. พริกแห้ง เลือกเอาเม็ดใหญ่ๆ แล้วแช่น้ำไว้
2 เกลือ นิดหน่อย
3หอมแดงปอกเปลือกออก แล้วซอยบางๆ
4 น้ำมะขามเปียก
5 กระชาย นำมาซอยเป็นชิ้นเล็กๆ
6น้ำตาลปี๊บ นิดหน่อย ไม่ต้องมาก
7กะปิอย่างดี
8. น้ำปลาอย่างดี ...........นำเครื่องแกงทั้งหมด (จำนวนใส่ตามความพอใจ) ใส่ครก แล้วโขลกให้ละเอียด ควรใส่เกลือนิดหน่อยขณะโขลก เพราะว่าจะทำให้โขลกง่ายขึ้น เป็นอันเสร็จ (บางคนอาจจะใส่ปลาย่างลงไปก็ได้)
วิธีทำ
1. นำน้ำใส่หม้อแล้วไปตั้งไฟให้ร้อน แล้วนำเครื่องแกงที่เตรียมไว้ใส่ลงไปต้มให้เดือด จนมีกลิ่นหอมออกมา 2. เติมน้ำปลาและน้ำมะขาม แล้วชิมรส จนพอใจ
3. นำปลาช่อนที่ยังไม่ได้ต้มใส่ลงไป เวลาใส่ปลาลงไปน้ำจะต้องเดือด ไม่เช่นนั้นแล้วจะเหม็นคาวทันที บางคนอาจจะเอาปลาช่อนไปต้มก่อน แล้วเอามาโขลกรวมกับเครื่องแกงก็ได้ หรือจะเอาปลาช่อนไปทอดแล้วเอามาใส่ก็ได้เหมือนกัน
4. ใส่ผักที่เตรียมไว้ลงไป ควรใส่หัวไชเท้าก่อน เพราะสุกยากที่สุด แล้วต่อไปก็ใส่ดอกกะหล่ำ ผักกวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ดอกแค และสุดท้ายใส่ผักบุ้งเพราะจะสุกง่ายที่สุด
5. เป็นอันเสร็จแกงส้มปลาช่อน ควรรับประทานกับปลาสลิดทอดจะอร่อยมาก
คุณค่าทางอาหาร
."แกงส้ม"เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ถือว่าเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำแต่ก็มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน โปรตีนจากปลา คาร์โบไฮเดรต และวิตามิน เพราะประกอบไปด้วยผักหลายชนิด .กล่าวคือ มีทั้งกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก วิตามินซีช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก ซึ่งมีหน้าที่บำรุงเลือด วิตามินเอ บำรุงสายตา วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 มีเส้นใยและกากใยช่วยย่อยอาหารและทำให้กระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายเป็นไปได้ด้วยดี ทั้งยังช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดและยังสามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย


แกงฟักทองใส่ใบแมงลัก
เครื่องปรุง
1. ฟักทองหั่นชิ้นพอคำ 1 ถ้วย
2. หมูสับ 1/4 ถ้วย
3. กุ้งสับ 2 ช้อนโต๊ะ
4. ปลาหมึกสับ 2 ช้อนโต๊ะ
5. แมงลักเด็ดเป็นใบ 1/2 ถ้วย
6. กระเทียมบุบ 2 กลีบ
7. พริกไทยป่น 1/8 ช้อนชา
8. น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
9. น้ำปลา 21/2 ช้อนโต๊10. น้ำซุป 2 ถ้วย
วิธีทำ
1. ผสมหมู กุ้ง ปลาหมึก ใส่พริกไทย ใส่น้ำปลา 1/2 ช้อนโต๊ะ เคล้าให้เข้ากัน
2. ใส่น้ำซุปลงหม้อ ตั้งไฟให้เดือด ใส่กระเทียมบุบ ปั้นส่วนผสมข้อ 1 ใส่ ใส่ฟักทอง เดือดอีกครั้ง
3. ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา พอฟักทองสุกเปื่อย ใส่ใบแมงลัก ปิดไฟ
เมื่อรับประทานแกงฟักทองเข้าไปแล้ว จะได้สารอาหารที่มีประโยชน์อย่างมากมาย ดังนี้
1. วิตามิน Aจากฟักทอง
2. โปรตีนจากเนื้อสัตว์
3. กระเทียม พริกไทย ซึ่ง 2 อย่างนี้ ช่วยในการขับลม และ ลดคลอเรสตอรอล
4. สารอาหารที่สำคัญและเป็นหลักของอาหารจานนี้ก็คือ ใบแมงลัก ซึ่งมีคุณค่าทางอาหาร ดังนี้
แมงลัก เป็นพืชล้มลุก ไม้พุ่มเตี้ย ใบสีเขียวโต ปลายใบแหลมริมใบเป็นจักสีแดง ออกดอกเรื่อๆ ออกดอกเป็นช่อ เป็นชั้นๆ มีกลิ่นหอมฉุน ดอกสีขาวม่วง
ส่วนที่ใช้ลำต้น ใบ เมล็ด
สรรพคุณ
ลำต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ไอ ขับเหงื่อขับลม กระตุ้นและแก้ทางเดินโรคอาหาร ใบ ใช้ใบสด มาตำให้ละเอียดคั้นน้ำกิน เป็นยบยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง หรือใช้กากใบที่ตำทาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด เมล็ด ใช้เมล็ดแห้ง เมื่อนำมาแช่น้ำจะเกิดการพองตัว แล้วใช้กินเป็นยาระบาย ลดความอ้วน ช่วยดูดซึมน้ำตาลในเส้นเลือด ขับเหงื่อและช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระให้เป็ยเมือกลื่นในลำไส้



กุ้งตะไคร้
ส่วนผสม
เนื้อกุ้งแกะเปลือกสับละเอียด 300 กรัม
ตะไคร้โขกละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมโขลกละเอียด 1 ช้อนชา
หอมแดงซอยโขลกละเอียด 1 ช้อนชา
พริกไทยดำโขลกละเอียด 1/4 ช้อนชา
ซอสปรุงอาหาร 2 ช้อนชา
ซอสหอยนางลม 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
เกล็ดขนมปัง 1 ถ้วยตวง
ต้นตะไคร้หั่นท่อนขนาด 5 นิ้ว 8
ต้นน้ำมันพืช 2 ถ้วยตวง
วิธีทำ
1. ผสมเนื้อกุ้งกับตะไคร้ กระเทียม หอมแดง พริกไทยดำ นวดให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยซอสปรุงรสน้ำตาลทราย นวดจนเข้ากันดี
2. นำมาหุ้มต้นตะไคร้ ปั้นเป็นทรงกลม คลุกกันเกล็ดขนมปัง
3. นำลงทอดในน้ำมันพืชใช้ไฟปานกลาง จนสุกเหลือง ตักขึ้นรับประทานกับน้ำจิ้มและผักสดหรือเส้นหมี่ลวกตามชอบ
น้ำจิ้มและวิธีทำ
ผสม -น้ำส้ม100% 1/4 ถ้วยตวง - โยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติ 1 ถ้วยตวง - ตะไคร้สับละเอียด 1/4 ถ้วยตวง
- เกลือป่น 1/4 ช้อนชา คนให้เข้ากัน
สรรพคุณ
ตะไคร้ - ต้นตะไคร้ ใช้เป็นยาขับลม แก้เบื่ออาหาร ผมแตกปลาย โรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว


มะระขี้นกผัดไข
เครื่องปรุง
น้ำมันพืข 2 ช้อนโต๊ะ
ไข่ไก่ 22 ฟอง
มะระขี้นก 15ลูก
กระเทียมสับ 2 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมเจียว 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. ล้างมะระ ผ่าครึ่งเอาเมล็ดออกหั่นบางๆ แช่ในน้ำเกลือ (น้ำ 2 ถ้วยผสมเกลือป่น 2 ช้อนชา) เพื่อให้คลายขม เอาขึ้น บีบน้ำออกให้หมด
2. ใส่น้ำมันลงในกระทะ 1 ช้อนโต๊ะ ใส่กระเทียม เจียวพอหอม ใส่มะระ ผัดพอมะระสุก กันไว้ข้างกระทะ
3. ใส่น้ำมันที่เหลือในกระทะ ต่อยไข่ใส่ชาม คนพอไข่แตก เทใส่ใ่นกระทะ เจียวพอไข่สุก คนมะระกับไข่เข้าด้วยกัน โรยด้วยพริกไทยและเกลือ ตักใส่จาน
คุณค่าทางอาหาร
มะระขี้นก มะระเป็นผักที่มีการรายงานค่อนข้างชัดเจนฉะนั้นมะระจึงเป็้นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ช่วยลดน้ำตาล
ในเลือด เพราะในมะระขี้นกมีสารคล้ายอินซูลินซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของอินซูลินและลดการดูดซึมน้ำตาลไดั

อบเห็ดหน่อไม้
ส่วนผสม
หน่อไม้3หน่อ
เห็ดหอม 12 ดอก
น้ำมันพืช 4 ช้อนโต๊ะ
เครื่องปรุง เกลือ 1/2ช้อนชา
ซอสถั่วเหลือง 2 ช้อนโต๊ะ
ชูรส 1/2 ช้อนชา
น้ำตาล 1/2ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.ปอกเปลือกหน่อไม้ หั่นส่วนที่แก่ออก หน่อนึ่งฝาเป็น 2 ส่วน นำลงต้ม 20 นาที ตักขึ้นแช่ในน้ำเย็น แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆหนา1ซม
. 2.ล้างเห็ดหอมให้สะอาดตัดโคนออก แช่น้ำสะอาด 2 ชม. แล้วหั่นเป็น 2 ชิ้น (หรือจะใช้ทั้งดอกเลยก็ได้)
3.ตั้งกระทะใส่น้ำมัน ผัดหน่อไม่ด้วยไฟแรง 3นาที ตักใส่จานเสิร์ฟได้
สารอาหารสำคัญ
โปรตีน 16.8 กรัม ไขมัน 59.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.4 กรัม โซเดียม 3500มิลลิกรัม กากใย 6.1กรัม พลังงานความร้อน 732.7 แคลอรี



ข้าวต้มสมุนไพร
เครื่องปรุง
ข้าวสวย(ข้าวกล้อง)1 ถ้วย (60 กรัม)
น้ำซุปไก่ 2 ถ้วย (200 กรัม)
ข้าวโพดต้มแกะเอาแต่เมล็ด 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
ถั่วแดงต้ม 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
ขิงซอย 1 ช้อนชา (5 กรัม)
ผักชี-ต้นหอมซอย 1 ช้อนชา (5 กรัม)
กระเทียมเจียว 1 ช้อนชา (5 กรัม)
น้ำปลา 2 ช้อนชา (60 กรัม)
พริกไทยป่น เล็กน้อย
วิธีทำ
ใส่น้ำซุปไก่ลงในหม้อตั้งไฟพอเดือด ใส่ข้าวสวย (ข้าวกล้อง) ข้าวโพด ถั่วแดง ใส่ขิง น้ำปลา ตักใส่ถ้วย โรยต้นหอม ผักชี กระเทียมเจียว และพริกไทย ง่ายใช่ไหมล่ะ
คุณค่าทางโภชนาการ (สำหรับ 1 คน)
ชื่อ พลังงานที่ได้ พลังงาน 250 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 42 กรัม โปรตีน 7 มิลลิกรัม วิตามินเอ 132 อาร์อี โซเดียม 203 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.4 มิลลิกรัม แคลเซียม 26 มิลลิกรัม ไขมัน 6 กรัม ฟอสฟอรัส 108 มิลลิกรัม
คุณค่าทางยาและสมุนไพร
พริกไทย ประโ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้องยชน์ ข้าวกล้อง มีวิตามินบีสูง ช่วยให้หัวใจทำงานปกติ การหมุนเวียนโลหิตดี การเจริญเติบใตของร่างกาย และมีใยอาหาร ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด ข้าวโพด เมล็ดเป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร บำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสาวะ ถั่วแดง มีวิตามินอีสูง ช่วยเร่งออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ ทำให้แผลหายเร็ว ขิง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะ ขับลม ผักชี แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน ขับเหงื่อ ต้นหอม แก้ไข้ ขับเสมหะ กระเทียม แก้อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับลม ลดไขมันและน้ำตาลในเลือด




ปลาต้มสมุนไพร
เครื่องปรุง
- ปลากะพงขาวขอดเกร็ด ควักไส้ออก หั่นเป็นท่อน 1 นิ้ว 1 ตัว - น้ำเปล่า 2 ถ้วย
- หัวหอมบุบพอแตก 5 หัว
- กระเทียมบุบพอแตก(กระเทียมโทน) 6 หัว
- ใบกะเพราเด็ดเป็นใบ ๆ 1/2 ถ้วย
- ข่าหั่นแว่น 2 แว่น
- ผักชีฝรั่งหั่นเป็นท่อนสั้น ๆ 1 ต้น
- พริกขี้หนูทอด 6 เม็ด
- น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
- น้ำปลา 1 ช้อนชา
- น้ำมะขามเปียก
วิธีทำ
1 ตั้งน้ำให้เดือด ใส่หัวหอม กระเทียม ตั้งไฟกลาง พอเดือดทั่ว
2 ใส่ปลา ใส่พริกขี้หนูทอด ปรุงรสด้วย น้ำมะขามเปียก น้ำปลา
3 ใส่ใบกะเพรา ผักชีฝรั่ง ปรุงรสด้วยน้ำมะนาวอีกครั้ง
อาหารสุขภาพสำหรับ
โรคหัวใจ คนเป็นโรค หัวใจต้องกินอาหารที่มีไขมันต่ำ รสไม่หวาน และเค็มจัด จึงควรใช้อาหารที่ทำด้วยปลา ถ้ากินปลา เป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้




เต้าหู้ทอดตะไคร้ใบสะระแหน่

เครื่องปรุง
สำหรับเต้าหู้ทอดเต้าหู้ขาวชนิดอ่อน (2 แพ็ค) 600 กรัม
เกลือ 1 ช้อนชา
พริกไทยเม็ดขาว 1 ช้อนชา
แป้งข้าวโพด 1 ถ้วยตวง
น้ำมันมะกอกสำหรับทอด
วิธีทำ
เต้าหู้ทอด
1. หั่นเต้าหู้เป็นชิ้นขาว ชิ้นละ 3 ซม. ล้างแล้ววางบนกระดาษซับน้ำให้แห้งสักพัก
2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใช้ไฟปานกลาง ใส่เกลือและเม็ดพริกไทยขาววางลงไปคั่วประมาณ 5 นาทีหรือจนกลายเป็นสีน้ำตาล เพื่อให้มีกลิ่นหอมมากขึ้นตักขึ้นพักไว้ให้เย็นนำไปปั่นหรือตำให้ละเอียด
3. ใส่น้ำมันมะกอกในกระทะ กะปริมาณให้ท่วมชิ้นเต้าหู้รอให้ร้อนจัด
4. นำเต้าหู้ที่ได้มาแล้วคลุกกับแป้งข้าวโพด ให้แป้งจับเต้าหู้เพียงบาง แล้วนำลงทอดจนเต้าหู้สุกเป็นสีน้ำตาลตักขึ้นวางบนกระดาษซับน้ำมันให้แห้ง
5. นำเต้าหู้ทอดใส่ชามใหญ่โรยเกลือและพริกไทยที่บดไว้ให้ทั่วราดหน้าด้วยน้ำตะไคร้ใบสะระแหน่ก่อนเสิร์ฟเครื่องปรุงสำหรับน้ำราดตะไคร้
ใบสะระแหน่กระเทียมสับละเอียด 2 ช้อนโต๊ะน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะตะไคร้หั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะพริกชี้ฟ้าเม็ดใหญ่ซอยเป็นเส้น 1 เม็ดใบสะระแหน่สับละเอียด 1/4 ถ้วยน้ำตาลปี๊ป 3 ช้อนชาน้ำมันมะกอก 2 1/2 ช้อนโต๊ะเกลือป่น 1 ช้อนชา
วิธีทำน้ำราดตะไคร้ ใบสะระแหน่
1. ใส่กระเทียมสับ น้ำมะนาว ตะไคร้หั่น พริกชี้ฟ้าหั่น ใบสะระแหน่และน้ำตาลปี๊ปลงในชามแล้วคลุกให้เข้ากัน2. เทน้ำมันมะกอกลงในกระทะตั้งไฟให้ร้อนจัดแล้วราดน้ำมันลง
ในชามส่วนผสมที่คลุกให้เข้ากันพักไว้สำหรับราดเต้าหู้
สรรพคุณอาหาร
ชนิดนี้มีคุณค่าต่อร่างกายเนื่องจากมีส่วนผสมจากพืชสมุนไพร คือตะไคร้ ช่วยขับลม ใบสะระแหน่ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ



ยำใบบัวบก
เครื่องปรุง
ใบบัวบกล้างหั่นฝอย 1 1/2 ถ้วย (200 กรัม)
เนื้อกุ้งนึ่งหั่นบางๆ 1/4 ถ้วย (50 กรัม)
ถั่วลิสงคั่วโขลกพอแตก 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
หอมแดงเจียว 2 ช้อนโต๊ะ (20 กรัม)
เนื้อหมูนึ่งหั่นบางๆ 1/4 ถ้วย (50 กรัม)
มะพร้าวขูดคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย 1 เม็ดเล็ก (5 กรัม)
วิธีทำ
1. ผสมหมู กุ้ง กับน้ำยำเข้าด้วยกัน ใส่ใบบัวบกเคล้าเบาๆ
2.ใส่ถั่วลืสงเคล้าพอเข้ากัน ตักใส่จาน
3.โรยด้วยพริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย หอมเจียว
น้ำปรุงน้ำยำ
พริกแห้งเผาหรือคั่วโขลกละเอียด2 ช้อนชา (10 กรัม)
กระเทียมเผาหรือคั่วโขลกละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)น้ำตาลปีบ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
คุณค่าทางโภชนาการ
พลังงาน 107.06 กิโลแคลอรีคาร์โบไฮเดรต 9.49 กรัมโปรตีน 7.13 กรัมแคลเซียม 87.81 มิลลิกรัมไขมัน 4.81 กรัมฟอสฟอรัส 98.66 มิลลิกรัม
คุณค่าทางยาและสมุนไพร
แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ขับปัสสาวะคุณค่าทางภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมใบบัวบกมีรสเผ็ด ขม และมัน เมื่อมาผสมกับน้ำยำ 4 รส ทำให้รสชาติของใบบัวบกดีขึ้น



กุ้งกระเทียมผัดพริกขี้หนู
ส่วนประกอบ
1. กุ้งชีแฮ้ย่างไฟพอสุก 2 ขีด
2. เห็ดหอมสด 1 ขีด3. กระเทียมบุบพอแตก 10 กลีบ
4. พริกขี้หนูบุบพอแตก 10 เม็ด
5. น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำตาลทรายแดง 2 ช้อนชา
7. น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ
8. น้ำมันสำหรับผัด 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. แกะเปลือกกุ้งที่ย่างแล้ว ฉีกเป็นชิ้นพอคำ แล้วพักไว้ เห็ดหอมสดผ่าครึ่ง ล้างให้สะอาด
2. เจียวกระเทียมและพริกขี้หนูในน้ำมันพอหอม ใส่กุ้งและเห็ดหอมลงผัดเติมน้ำปลาและน้ำตาลทรายแดง เติมน้ำเปล่า ลงผัดให้เข้ากัน คนอีกครั้ง ตักขึ้นใส่จานกินกับข้าวกล้องร้อนๆกุ้งผัดกระเทียมจานนี้จะมีกลิ่นหอมมากกว่าธรรมดา เพราะว่าเราใช้กุ้งย่างแทนกุ้งสด
สรรพคุณกระเทียม
- ช่วยลดคอเลสเตอรอล ฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
พริกขี้หนู
- มีสารเบต้าแคโรทีน ช่วยขับเหงื่อ ปัสสาวะ เจริญอาหาร ทำให้หลอดเลือดอ่อนตัวช่วยป้องกันโรคหัวใจ เลือดไหลหมุนเวียนดี ลดความดันเลือด
เห็ดหอม
- สามารถยับยั้งโรคมะเร็ง
กุ้ง
- เพิ่มน้ำนม
ข้าวกล้อง
- มีวิตามินบี 1 บี 2 ป้องกันเหน็บชา




ผัดผักรวมงาขาว
เครื่องปรุง
กุ้งแช่บ๊วยหั่นชิ้น 100 กรัม
เห็ดฟาง 5 ดอก
กะหล่ำปลี 1/4 หัว
ผักไผ่หั่นหยาบ 1/2 ถ้วย
งาขาวคั่ว 3 ช้อนโต๊ะ
พริกแห้งแกะเมล็ดออกแช่น้ำ 3 เม็ด
กระเทียมซอย 1 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงซอย 3 หัว เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
น้ำตาลทรายแดง 2 ช้อนชา
น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีการทำ
1.ล่องเห็ดฟาง กะหล่ำปลี เฉือนเอาโคนที่สกปรกของเห็ดฟางออก หั่นเป็นชิ้นบางตามยาว กะหล่ำปลีหั่นหยาบๆ
2. ต้มน้ำให้เดือด ลวกเห็ดฟางและกะหล่ำปลีพอสุก ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ พักไว้
3. โขลกพริกแห้ง กระเทียม หอมแดง เกลือเข้าด้วยกันให้ละเอียด ผัดกับน้ำมันมะกอกให้หอม ปรุงรสด้วยน้ำตาล
4. ใส่เนื้อกุ้ง ผัดพอกุ้งสุก ยกลง ใส่น้ำมะนาว เคล้าให้เข้ากันเป็นน้ำยำ
5. เมื่อจะรับประทาน ใส่ผักลวกลงในอ่างผสม ใส่ผักไผ่และน้ำยา เคล้าเบาๆ ให้เข้ากัน ตักใส่จาน โรยงาขาว คุณค่าทางอาหาร
งา เมล็ดพืชเล็กจิ๋วที่อุดมไปด้วยสารอาหาร มี 2 แบบ คือ งาดำ และงาขาว นอกจากนี้ยังมีน้ำมันงาที่ใช้ปรุงอาหารได้ดี เพราะมีกลิ่นหอมและกรดไขมันที่มีประโยชน์สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดงาล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น เช่น โปรตีนในงามีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ กรดอะมิโนเมธิโอนีน ในถั่วเหลืองมีกรดอะมิโนที่จำเป็นตัวนี้น้อย ชาวมังสวิรัติจึงใส่งาลงไปในอาหารถั่วเหลืองที่ปรุง เพื่อให้มีสารโปรตีนสมบูรณ์มากขึ้นในเมล็ดงามีน้ำมันมาก จึงสกัดออกมาเป็นน้ำมันงาที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยม คือ มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง ทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 กรดไขมันโอเมก้า 6 ที่มีคุณสมบัติช่วยลดคลอเลสเตอรอล จึงช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจ ทำให้ระบบหัวใจแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันไลโนเลอิค ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้นงายังมีวิตามันและแร่ธาตุที่สำคัญโดยเฉพาะแคลเซียมที่มีมากกว่านมวัวถึง 6 เท่า มีธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และทองแดง อีกทั้งยังมากด้วยวิตามินบีชนิดต่างๆ ซึ่งดีต่อระบบประสาท ช่วยทำให้นอนหลับ ร่างกายกระฉับกระเฉง พร้อมกันนั้นยังมีสารบำรุงประสาทด้วย

นำมาจาก http://www.skr.ac.th/Work_M5/food_health/
















วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวหน้า




สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวหน้า
ใบหน้า คือ ด่านแรกที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจของผู้พบเห็น แต่หลายๆคนกำลังประสบปัญหาผิวหน้าไม่เรียบสวย เพราะเม็ดสิวและรอยแห้งกร้านด้วยจุดด่างดำของกระและฝ้า จนต้องเสียเงินทองมากมายเพื่อเข้าสถานเสริมความงาม หรือหาซื้อยามารักษา จึงอยากแนะนำให้ใช้สมุนไพรพืชผักและผลไม้ที่มีอยู่ทั่วไป แต่มีคุณประโยชน์มากมายทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารบำรุงผิวธรรมชาติที่ช่วยดูแลผิวพรรณให้ชุ่มชื้นผ่องใสอ่อนไวอยู่เสมอ

1. ว่านหางจระเข้ (Aloe indica Royle)คุณค่าของว่านหางจระเข้มีมากมาย นอกจากใช้รักษาโรคแล้ว ยังใช้บำรุงผิว บำรุงเส้นผมได้ด้วย ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีแชมพูสระผม และเครื่องสำอางหลายอย่าง ที่ใช้ว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบ และกำลังเป็นที่นิยมของคนทั่วไป เนื่องจากว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติสามารถช่วยให้กระบวนการเมตะโบลิซึม ทำงานได้เป็นปกติ ลดการติดเชื้อ สลายพิษของเชื้อโรค กระตุ้นการเกิดใหม่ ของเนื้อเยื่อส่วนที่ชำรุด ฉะนั้น ว่านหางจระเข้จึงถูกนำมาใช้ เพื่อบำรุงผิวพรรณ ผู้ที่ใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิวพรรณอยู่เป็นประจำ จะรู้สึกได้ชัดว่า ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วย ให้ผิวพรรณผุดผ่อง สดชื่น มีน้ำมีนวล และยังสามารถขจัดสิว และลบรอยจุดด่างดำได้ด้วย การใช้ว่านหางจระเข้ เพื่อบำรุงผิว โดยปอกเปลือกออก ใช้แต่เมือกวุ้นสีขาวใส ที่อยู่ภายใน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแพ้ ก่อนใช้ควรตรวจสอบว่า ตนเองจะเกิดอาการแพ้หรือไม่ โดยใช้น้ำที่ได้จากวุ้นสีขาว ของว่านหางจระเข้ ทาตรงบริเวณโคนหู แล้วทิ้งไว้สักครู่ ถ้าเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นแดง แสดงว่าไม่แพ้ ไม่เหมาะที่จะใช้กับผิวหน้าอีกต่อไป ถ้าไม่มีอาการแพ้ ก็สามารถใช้ได้ตลอด แต่บางคนก็จะเห็นผลได้เหมือนกัน เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ทาบริเวณหัวสิว จะทำให้หัวสิวแห้งเร็ว นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังสามารถลดความแห้งกร้าน และลดความมันของผิวหน้าได้ โดยคนที่มีผิวมัน ก็จะช่วยให้ลดความมัน คนที่มีผิวหน้าแห้ง ก็ยังรักษาความชุ่มชื่นของผิวไว้ได้

2. งา (Sesamum indicum Linn. S. orientle. L)
เป็นพืชล้มลุก ให้เมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดงามีทั้งสีดำ และสีขาว ในเมล็ดงามีน้ำมันอยู่ ประมาณ 45-54% น้ำมันงามีกลิ่นหอมน่ารับประทาน วิธีใช้ โดยการนำเอาเมล็ดงาสด มาบีบน้ำมันงาออก โดยไม่ผ่านความร้อน ใช้ทาผิวหนัง เพื่อบำรุงผิวพรรณ ให้ผุดผ่อง ช่วนประทินผิวให้นุ่มนวล ไม่หยาบกร้าน

3. แตงกวา (Cucumis sativas Linn.)จะมีวิตามินสูง ในผลแตงกวายังมีเอ็นไซม์ cryssin ซึ่งช่วยย่อยโปรตีนได้ เอ็นไซม์ชนิดนี้ จะช่วยย่อยผิวหนังที่หยาบกร้าน ให้หลุดออกไป เพื่อให้ผิวใหม่ที่อ่อนนุ่ม เกิดขึ้นมาแทนที่ บางคนใช้แตงกวาสด ผ่าเป็นชิ้นบางๆ วางบนใบหน้าที่ล้างสะอาด แทนน้ำแตงกวา ปัจจุบัน มีน้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่น ครีมล้างหน้า ครีมทาตัว เพื่อช้วยให้ผิวไม่หยาบกร้าน และช่วยสมานผิว แตงกวาเป็นสมุนไพร ที่หาง่าย มีประโยชน์ ราคาถูก ใช้ติดต่อกับเป็นประจำ จะทำให้สวนสดชื่น มีน้ำมีนวล

4. มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill.)ในมะเขือเทศ จะมีสาร Curotenoid และมีวิตามินหลายชนิด น้ำจากผลมะเขือเทศสุก จะมีสาร licopersioin ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา และแบคทีเรีย และน้ำมะเขือเทศสด นำมาพอกหน้า จะรักษาสิวสมานผิวหน้าให้เต่งตึง หรืออาจจะฝานบางๆ แปะลงบนผิวหน้าก็ได้

5. ขมิ้นชัน (Curcuma Longa Linn.)ในขมิ้น จะมีสาร Curcumin และมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะ ขมิ้นมีฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราหลายชนิด ใช้ทาผิวที่มีผดผื่นคัน ผงขมิ้นใช้ทาตัว เพื่อให้มีสีเหลืองทอง ใช้บำรุงผิว และช่วยฆ่าเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังบางชนิด ได้อีกด้วย

6. น้ำผึ้ง (Apis dorsata)ได้จากผึ้ง ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส ฟรุคโตส ขี้ผึ้ง อัลบูมินอยด์ ละอองเกสรดอกไม้ และฮอร์โมนเอสโตรเจน จำนวนเล็กน้อย น้ำผึ้งใช้เป็นส่วนประกอบ ของเครื่องสำอาง ใช้พอกหน้า ทำให้ผิวหน้าชุ่มชื่น เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลขึ้น น้ำผึ้งยังมีคุณสมบัติช่วยสมานผิว น้ำผึ้ง เป็นเครื่องสำอางจากธรรมชาติ ที่ให้ประโยชน์สูง และหาง่าย นอกจากนี้ ยังใช้น้ำผึ้งบำรุงผม ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะช่วยบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของเส้นผม

7. มะขามเปียก (Tamarindus indica Linn)มะขามเปียกมีประวัติการใช้มายาวนาน ช่วยชำระสิ่งสกปรกจากผิวหนัง เพราะฤทธิ์ที่เป็นกรดอ่อนๆ ในมะขาม จะช่วยขจัดสิ่งสกปรกจากผิวหนังได้ดี ปัจจุบัน ได้มีหญิงไทยจำนวนมาก ใช้มะขามเปียกผสมน้ำอุ่น และนมสดให้เข้ากันดี พอกบริเวณผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยด้าน เช่น ตาตุ่ม ข้อศอก ฝ่ามือ ที่มีรอยกร้านดำ และบริเวณรักแร้ ขาหนีบ เพื่อให้ผิวหนังที่เป็นรอยดำจางลง ทำให้ผิวขาวนุ่มนวลขึ้น และนมสดจะช่วยบำรุงผิว ให้นุ่มได้

นำมาจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tinedtined&month=06-2008&date=27&group=18&gblog=6

ชื่อภาษาไทย มะนาว

ชื่อภาษาอังกฤษ Lime

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifolia (Christm. et Panz.) Swing.

วงศ์ RUTACEAE

ชื่ออื่น ส้มมะนาว

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ

สรรพคุณ น้ำมะนาวและผลดองแห้ง - รับประทานเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะอื่น ๆ เช่น ดีปลี นอกจากนี้ยังใช้แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี




ชื่อภาษาไทย มะปราง
ชื่อภาษาอังกฤษ Plum Mango
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bouca macrophylla Griff. วงศ์ ANACARDIACEAE
ชื่ออื่น -
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร กิ่งก้านห้อยลง เป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3-7 ซม. ยาว 12-20 ซม. เนื้อใบเหนียวเป็นมัน ดอกช่อ แยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอกย่อยสีเหลืองขนาดเล็ก ผล เป็นผลสด รูปวงรี สีเหลืองหรือส้ม ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยว ใบเลี้ยงสีม่วง
สรรพคุณ ราก - มีรสเย็น ใช้ถอนพิษไข้ พิษสำแดง แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ ไข้มีพิษร้อน

ชื่อภาษาไทย โสนกินดอก
ชื่อภาษาอังกฤษ - ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania javanica Miq.
วงศ์ LEGUMINOSAE ชื่ออื่น ผักฮองแฮง โสนหิน สิปรีหลา
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยขนาดเล็กรูปยาวรี ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อมี 10-15 ดอก ดอกสีเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ ผลเป็นฝักยาวเรียวค่อนข้างแบนภายในมีเมล็ดจำนวนมาก พบขึ้นในหนองน้ำ ที่ชื้นแฉะทั่วไป
สรรพคุณ เมล็ด – ฝาดสมาน







ชื่อภาษาไทย แตงโม
ชื่อภาษาอังกฤษ Watermelon
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrullus lanatus Mats & Nakai
วงศ์ CUCURBITACEAE
ชื่ออื่น แต่เต้าส่า แตงจีน มะเต้า อุลัก
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้เถา มือเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง ใบเดี่ยวเรียงสลับ ผิวใบเป็นรอบขรุขระ ออกดอกเดี่ยวๆ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ผลกลม ผิวเรียบ สีเขียวแก่ ภายในมีเนื้อสีแดง รสหวาน ฉ่ำน้ำ เมล็ดมีจำนวนมาก รูปไข่ แบน ผิวเรียบ สีน้ำตาลเข้ม
สรรพคุณ แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ร้อนในกระหายน้ำ ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้น้ำร้อนลวก ไฟลวก แก้ไส้เลื่อน แก้จุกเสียดล ดคความดันโลหิต ขับเสลด แก้ไอเรื้อรัง




ชื่อภาษาไทย เตยหอม
ชื่อภาษาอังกฤษ - ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb.
วงศ์ PANDANACESE
ชื่ออื่น ปาแนะวองิง
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเรียวยาว ใบแก่มักมีปลายใบกว้างกว่าฐานใบและมีหนาม ต้นแก่มักมีรากอากาศตลอดต้น
สรรพคุณ บำรุงหัวใจ แก้กระษัย น้ำเบาพิการ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้โรคผิวหนัง รักษาโรคหัด รักษาโรคสุกใส






ชื่อภาษาไทย แค
ชื่อภาษาอังกฤษ Agasta, Sesban
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania grandiflora Desv.
วงศ์ LEGUMINOSAE ชื่ออื่น แคบ้าน แคแดง
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบประกอบ ดอกสีขาวหรือแดง ลักษณะของดอกเหมือนดอกถั่ว ผลเป็นฝัก
สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้ลม แก้บาดแผล แก้พยาธิ แก้ท้องร่วง แก้บิด สมานแผล รักษาโรคผิวหนังและแผลเรื้อรัง แก้ริดสีดวงจมูก ขับปัสสาวะ แก้นอนไม่หลับ




ชื่อภาษาไทย แก้ว
ชื่อภาษาอังกฤษ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculata (Linn.) Jack
วงศ์ RUTACEAE ชื่ออื่น ตะไหลแก้ว จ๊าพริก
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 เมตรใบประกอบแบบขนนกชนิดที่มีใบยอด 1 ใบ ใบย่อยมี 7-9 ใบ ใบย่อยยาว กว้าง 1-1.5 ซม.ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาวมี 5 กลีบ หอมผลรี รูปไข่ ผลสุก สีแดง ออกดอกตลอดปี
สรรพคุณ ใบ - ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด เคี้ยวอมแก้ปวดฟัน แก้บิด และท้องเสี



ชื่อภาษาไทย มะตูม
ชื่อภาษาอังกฤษ Bael Fruit Tree, Bengal Quince
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aegle marmelos (Linn.) Corr.
วงศ์ RUTACEAE
ชื่ออื่น กะทันตาเถร ตุ่มตัง ตูม มะปิน
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปวงรี หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-13 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ และที่ปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวล ใบและดอกมีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสด เนื้อในสีเหลือง มีน้ำเมือก
สรรพคุณ ผลดิบแห้ง - ใช้ชงดื่ม ทำให้สดชื่น หายอ่อนเพลีย แก้ท้องเสีย แก้บิดผลสุก - เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร



ชื่อภาษาไทย มะพร้าว
ชื่อภาษาอังกฤษ Coconut
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera Linn.
วงศ์ ARECACEAE ชื่ออื่น หมากอุ๋น หมากอูน
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม สูงได้ถึง 25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ หนาแน่นที่บริเวณยอด ยาว 4-6 เมตร ใบย่อยรูปพัดจีบ กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 50-100 ซม. ดอกช่อ ออกระหว่างก้านใบ ดอกย่อยจำนวนมาก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้สีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียว หรือเขียวแกมเหลือง ใบประดับยาว 60-90 ซม. ผล เป็นผลสด รูปใข่แกมทรงกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง เนื้อสีขาว
สรรพคุณ น้ำมะพร้าว - มีเกลือโปแตสเซียมและน้ำตาลกลูโคสสูง อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูง มีเกลือคลอไรด์และโซเดียมต่ำกว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ สูตรองค์การอนามัยโลก ที่ใช้กับโรคท้องเสีย ทำให้ชุ่มคอ บำรุงธาตุไฟ ช่วยกระตุ้นการหายใจ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเล็กน้อย



ชื่อภาษาไทย มังคุด
ชื่อภาษาอังกฤษ Mangosteen
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana Linn.
วงศ์ CLUSIACEAE ชื่ออื่น -
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 10 - 12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลืองใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6 - 11 ซม. ยาว 15 - 25 ซม. เนื้อใบหนา และค่อนข้างเหนียว คล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ท้องใบสีอ่อนดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศ หรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม
สรรพคุณ เปลือกผล - ใช้เปลือกผลแห้ง ซึ่งมีสารแทนนิน เป็นยาฝาดสมาน แก้โรคท้องร่วง ท้องเสียเรื้อรัง และโรคเกี่ยวกับลำไส้



ชื่อภาษาไทย รัก
ชื่อภาษาอังกฤษ
-
ชื่อวิทยาศาสตร์ Calotropis gigantea R.Br.
วงศ์ ASCLEPIADACEAE ชื่ออื่น รักดอก ปอเถื่อน ป่านเถื่อน
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่ม ขนาดกลาง ลำต้นมียางขาว ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปรีแกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นช่อ ตามปลายยอดและซอกใบ แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกตูมรูปกลมป้อม โคนดอกกว้างกว่าตอนปลาย กลีบดอกเชื่อมติดกันตอนโคน ตอนปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ สีขาวหรือสีม่วง ชั้นในติดกับกลีบดอก มีรยางค์ 5 กลีบติดกัน สีขาวหรือสีม่วง ลักษณะคล้ายมงกุฎ ผลเป็นฝักคู่รูปรี ฝักแก่จะแตกตามยาว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดสีน้ำตาล มีขนยาวสีขาว ปลิวตามลมได้ดี พบขึ้นตามที่ว่าง แดดจัด ริมทาง หัวไร่ปลายนา
สรรพคุณ ยาง-ยาถ่ายอย่างแรง แก้ปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ แก้กลากเกลื้อนเปลือกต้น-ทำให้อาเจียนดอก-แก้ไอ แก้หืดเปลือกราก-แก้บิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน


ชื่อภาษาไทย ระงับพิษ
ชื่อภาษาอังกฤษ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Breynia glauca Craib.
วงศ์ BUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น เชียงใหม่ : ดับพิษ
ถิ่นกำเนิด อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย รายละเอียด ไม้พุ่มขนาดย่อม ใบประกอบมีสีเขียว ดอกเล็กเป็นช่อ ผลโตขนาดเมล็ดพริกไทย ผลแก่จัดสีดำ ผลค่อนข้างมน ชอบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป
สรรพคุณ ราก – ใช้กระทุ้งพิษ แก้ไข้จับสั่นไข้กลับ แก้เซื่องซึม แก้พิษไข้ทุกอย่าง


ชื่อภาษาไทย รางจืด
ชื่อภาษาอังกฤษ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Linn.
วงศ์ THUNBERGIACEAE
ชื่ออื่น กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว คาย รางเย็น ดุเหว่า ทิดพุด น้ำนอง ย่ำแย้ แอดแอ
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้เถาเนื้อแข็งใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. ขอบใบเว้าเล็กน้อยดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน ใบประดับสีเขียวประสีน้ำตาลแดงผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณ ใบสด - ใช้คั้นน้ำ แก้ไข้ ถอนพิษต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น อาการแพ้อาหาร เป็นต้น การทดลองเพื่อใช้แก้พิษ ที่เกิดจากยาฆ่าแมลงโพลิดอลในสัตว์ ได้ผลดีพอควร สรุปได้ว่า อาจใช้น้ำคั้นใบสด ให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลง ดื่มเป็นการปฐมพยาบาล ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกัน ก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง


ชื่อภาษาไทย มะขาม

ชื่อภาษาอังกฤษ Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.
วงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่น -
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง มีลายสีม่วงแดง ผลเป็นฝัก มีเนื้อหุ้มเมล็ด สีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ
สรรพคุณ มะขามเปียก - ใช้เป็นยาถ่าย และยาแก้ไอกัดเสมหะที่เหนียวข้น เนื่องจากมีกรดอินทรีย์ เช่น กรด trataric และกรด citricเปลือกต้น - เป็นยาสมานคุมธาตุเนื้อในเมล็ด - ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิไส้เดือนใบและยอดอ่อน - มีรสเปรี้ยว ใช้ในการอาบ อบสมุนไพร

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552



ชื่อภาษาไทย มะกรูด

ชื่อภาษาอังกฤษ Leech Lime

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.

วงศ์ RUTACEAE ชื่ออื่น มะขุน มะขูด ส้มกรูด

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 2-8 เมตร ใบและดอกคล้ายมะนาว ใบ รูปค่อนข้างกลม กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 3-8 ซม. ก้านใบมีครีบขนาดใหญ่เท่าตัวใบ ผลเป็นผลสด รูปร่างค่อนข้างกลม ผิวขรุขระ

สรรพคุณ น้ำมะกรูด - ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้สระผมกันรังแคผิวมะกรูด - ใช้เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง



ชื่อภาษาไทย มะลิฝรั่งเศส

ชื่อภาษาอังกฤษ Spanish Jasmine, Catalonian Jasmine

ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum officinale Linn. f. var. grandiflorum (Linn.) Kob. ,OLEACEAE
ชื่ออื่น จัสมิน พุทธชาดก้านแดง

ถิ่นกำเนิด รายละเอียด ไม้เถา ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย5-7 ใบ รูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว หลังกลีบสีแดง มีกลิ่นหอม

สรรพคุณ ดอกสด - มีน้ำมันหองระเหย ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กลั่นไอน้ำทำเป็นหัวน้ำหอม สำหรับแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง







ชื่อภาษาไทย มะลิลา, มะลิซ้อน

ชื่อภาษาอังกฤษ Arabian Jasmine

ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac Ait. ,OLEACEAE

ชื่ออื่น ข้าวแตก มะลิ มะลิขี้ไก่ มะลิป้อม มะลิหลวง

ถิ่นกำเนิด รายละเอียด ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ใบประกอบ ชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. สีเขียวแกมเหลือง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม มะลิลามีกลีบดอกชั้นเดียว ส่วนมะลิซ้อนมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณ ดอกแห้ง - จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ปรุงยาหอม ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ไข้





ชื่อภาษาไทย มะแว้งต้น

ชื่อภาษาอังกฤษ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum sanitwongsei Craib

วงศ์ SOLANACEAE

ชื่ออื่น -

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบ สีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม

สรรพคุณ ผล - ใช้แก้ไอขับบเสมหะ รักษาเบาหวาน ขับปัสสาวะ พบสเตอรอยด์ปริมาณค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มะแว้งต้นเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้ง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้นตามตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ



ชื่อภาษาไทย มะแว้งเครือ

ชื่อภาษาอังกฤษ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum trilobatum Linn.

วงศ์ SOLANACEAE

ชื่ออื่น แขว้งเครือ

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้เลื้อย มีหนามตามกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ขอบใบเว้า มีหนามตามเส้นใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวมีลายตามยาว เมื่อสุกสีแดง

สรรพคุณ ผล - ใช้แก้ไอขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อย ๆ หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้งเช่นกัน นอกจากนี้ ใช้ขับปัสสาวะแก้ไข้และเป็นยาขมเจริญอาหาร



ชื่อภาษาไทย มะยม
ชื่อภาษาอังกฤษ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus Skeel
วงศ์ EUPHOTBIACEAE
ชื่ออื่น -
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น ตามลำต้นมีปุ่มปม ใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียวกันบนกิ่งก้านที่เรียวเล็ก ช่อดอกสั้นๆ ออกติดกันเป็นกระจุกตามลำต้น และกิ่งก้าน ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีชมพู ผลกลมแป้นมี 6-8 พู สีเขียวอ่อน ลักษณะชุ่มน้ำ พบปลูกตามบ้านเรือน เรือกสวน

สรรพคุณ ราก – ฝาดสมาน แก้ไอ แก้หอบหืดผล – ฝาดสมาน แก้หลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ


ชื่อภาษาไทย แมงลัก
ชื่อภาษาอังกฤษ Hairy Basll

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum canum sims.
วงศ์ LABIATAE

ชื่ออื่น -
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด เมือกจากเมล็ดพบ D-xylose , D-glucose, D-galactose , D-mannose, L-rhamnose , uronic acid , oil , polysaccharide และ mucilage ส่วนใบพบน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วย borneol,L-เบต้า-cadinene, 1-8 cineol,เบต้า-caryohyllene, eugenol

สรรพคุณ เมล็ดใช้เป็นยาระบายเพิ่มกาก ใบใช้ขับลม



ชื่อภาษาไทย โมกบ้าน

ชื่อภาษาอังกฤษ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia religiosa Benth

วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น ปิดจงวา หลักป่า โมกซ้อน

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่ม ลำต้นเรียบ มีจุดแต้มประสีขาวทั่วลำต้น ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกรูปกรวยสั้นปลายแยก 5 กลีบ สีขาว ผลเป็นฝักคู่เรียวยาวโค้ง ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้มภายในมีเมล็ดจำนวนมาก พบตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ และ พบปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน

สรรพคุณ ราก – ปรุงยารักษาโรคผิวหนังจำพวกโรคเรื้อน


ชื่อภาษาไทย โมกหลวง

ชื่อภาษาอังกฤษ Kurchi

ชื่อวิทยาศาสตร์ Holarrhena pubescens (Buch.-Ham.) Wall. ex G. Don (H. antidysenterica wall.)

วงศ์ APOCYNACEAE

ชื่ออื่น พุด พุทธรักษา มุกมันน้อย มูกมันหลวง มุกหลวง โมกเขา โมกทุ่ง โมกใหญ่ ยางพุด

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนตน สูง 8 - 15 เมตร ทุกส่วนมียางขาวใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่ หรือรูปวงรี กว้าง 5 - 12 ซม. ยาว 10 - 20 ซม. ผิวใบสีเขียวแกมเหลือง ท้องใบมีขนนุ่มดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว บริเวณกลางดอกสีเหลืองผลเป็นฝักคู่

สรรพคุณ เปลือก - ใช้เปลือกแก้บิด เจริญอาหาร พบว่ามีแอลคาลอยค์ conessine ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบิด และเคยใช้เป็นยารักษาโรคบิด อยู่ระยะหนึ่ง ปัจจุบันมีการใช้น้อย เนื่องจากพบฤทธิ์ข้างเคียง ต่อระบบประสาท



ชื่อภาษาไทย โมกมัน

ชื่อภาษาอังกฤษ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia tomentosa Roem. et Schult.

วงศ์ APOCYNACEAE

ชื่ออื่น มักมัน มูกน้อย มูกมัน โมกน้อย

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 10 - 12 เมตร มียางขาวใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3 - 6 ซม. ยาว 7 - 12 ซม.ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก สีขาวแกมชมพูผลเป็นฝักคู่ติดกัน

สรรพคุณ เปลือก - ใช้เปลือกเป็นยาบำรุงธาติ เจริญอาหารแก่น - แก้ดีพิการ ขับเลือดยางจากต้น - ใช้แก้บิดมูกเลือด


ชื่อภาษาไทย เร่ว

ชื่อภาษาอังกฤษ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia allughas Rosc.

วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น กะลา ข่าน้ำ

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน กลิ่นหอม แตกกอ สูงได้ถึง 1 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 4-7 ซม. ยาว 12-20 ซม. ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบเป็นแผ่น เรียงอัดแน่นคล้ายลำต้นบนดิน สีเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แผ่เป็นแผ่นคล้ายกลีบดอกสีขาว มีลายเส้นตามขวาง สีน้ำตาลส้ม ผลแห้งแตกได้ รูปทรงกลม เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม

สรรพคุณ เมล็ด - มีรสเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับน้ำนม แก้คลื่นไส้ อาเจียน ขับลม


ชื่อภาษาไทย บัวหลวง
ชื่อภาษาอังกฤษ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nelumbo mucifera Gaerth. NELUMBONACEAE

ชื่ออื่น บัว สัตตบงกช สัตตบุษย์ อุบล

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้น้ำอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินยาวและเป็นปล้อง ใบเดี่ยว รูปโล่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-60 ซม. ผิวใบมีนวล ก้านใบยาวชูขึ้นเหนือน้ำ ดอกเดี่ยว แทงออกจากเหง้า ด้านดอกยาว ชูดอกขึ้นเหนือน้ำ กลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ติดอยู่รอบฐานดอกรูปกรวย ผลแห้ง รูปรี จำนวนมาก ฝังอยู่ในฐานรองดอก

สรรพคุณ เกสร - เกสรบัวหลวง เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ผสมในยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ



ชื่อภาษาไทย กระดังงาไทย
ชื่อภาษาอังกฤษ Ylang Ylang

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. et. Th. ANNONACEAE

ชื่ออื่น กระดังงา กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ สะบันงา สะบันงาต้น

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำ
สรรพคุณ ดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด


ขนหนอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bridelia tomentosa Bl.

วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กระบือ สีฟันกระบือ มะแก สามพันตา
ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน ตัวใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือแหลม ขนาดยาว 3 - 12 ซม. กว้าง 1 - 5 ซม. ผิวใบด้านหลังมีขนเส้นเล็กๆ ละเอียดปกคลุม ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเล็ก มีดอกเพศผู้และเพศเมียในกระจุกเดียวกัน ผลรูปกลมขนาดเล็กสีเขียว ต่อมาเปลี่ยนเป็นดำ ภายในมี 2 เมล็ด พบตามที่ชุ่มชื้นริมน้ำ ป่าละเมาะ ป่าชายทะเล

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ - ผสมกับพืชสมุนไพรชนิดอื่นแช่ (infused) เอาน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง แก้ไข้ ปรุงยาต้ม แก้โรคลำไส้ ราก - เป็นยาภายหลังคลอด ทั้งต้น - เป็นพิษ





มะกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bridelia ovata Decne

วงศ์ : EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น : ก้องแกบ ขี้เหล้ามาดกา ซำซา มัดกา มาดกา ส่าเหล้า สิวาลา

ลักษณะพืช : ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงถึง 10 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ ตัวใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ขนาดยาว 7 - 20 ซม. กว้าง 3 - 7 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเล็กดอกเพศผู้แลดอกเพศเมีย อยู่ในกระจุกเดียวกัน ผลเป็นผลสด รูปกลมขนาดเล็กพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายทะเล
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ - ขับเสมหะ เปลือก - ฝาดสมาน
กระดุม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Borreria articularis (L.f.) F.N. Williams
วงศ์ : RUBIACEAE

ชื่ออื่น : -
ลักษณะพืช : พืชล้มลุก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่ เนื้อใบบาง มีขนทั้ง 2 ด้าน ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก รูปกรวย ปลายแยก 4 แฉก กรวยดอกสีขาว กลีบดอกสีม่วงอ่อน ภายในกรวยดอกเหนือโคนกรวยดอกเล็กน้อย มีขนเรียงเป็นวงแหวน ผลเล็กรูปรี หรือที่น้ำขังแฉะทั่วๆไป

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ - แก้ริดสีดวงทวาร ราก - แก้ปวดฟัน ลำต้นและใบ - เป็นส่วนผสมทำยาพอก แก้อุจจาระร่วง ทำยาชง แก้โรคนิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี




อังกาบหนู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria prionitis Linn.

วงศ์ : ACANTHACEAE ชื่ออื่น : เขี้ยวแก้ว เขี้ยวเนื้อ มันไก่
ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม สูงถึง 1.5 ม. ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่ปลายแหลม ยาว 2 - 17 ซม. กว้าง 0.5 - 6 ซม. ตามซอกใบจะมีหนามแหลม 3 - 5 อัน ดอกออกเดี่ยวๆ ส่วนตอนปลายยอดจะออกเป็นช่อ กลีบดอกสีเหลืองสด ยาว 2 - 5 ซม. ผลกลมแบน ปลายแหลม แข็ง ขนาด 1 - 2 ซม. ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด ขึ้นได้ดีในที่แล้ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ทั้งต้น - ขับปัสสาวะ แก้ไขข้ออักเสบ แก้บวมน้ำ แก้ไข้ ใบ - แก้กลากเกลื้อน แก้ปวดฟัน น้ำคั้นทากันเท้าแตก หยอดหู แก้อักเสบ เปลือก - แก้ไอกรน ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้อาการบวมทั้งตัว ราก - ทำยาแก้ฝี





หนามพุงดอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azima sarmentosa Benth. & Hook.

วงศ์ : SALVADORACEAE
ชื่ออื่น : ขี้แฮด ปิ๊ดเต๊าะ พุงดอ
ลักษณะพืช : ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยวออกตรงข้าม เนื้อใบหนา สีเขียวสดเป็นมัน ตัวใบมีรูปร่างหลายแบบ ที่โคนใบมีหนามแหลมเรียวยาว 2 อัน ดอกออกเป็นช่อ แตกเรียงกันหลายชั้น ดอกเล็ก ผลกลมสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว ภายในมีเมล็ด 2 - 3 เมล็ด พบตามริมน้ำ ที่ลุ่มชื้นแฉะ แนวป่าละเมาะชายทะเลทั่วไป
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ราก - ถอนพิษ แก้ไข้ ภายนอกใช้ฝนทาแก้พิษฝี






มะนาวผี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atalantia monophylla DC.

วงศ์ : RUTACEAE

ชื่ออื่น : มะลิว จ๊าลิว กรูดผี กรูดเปรย
ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม กิ่งก้านตามยอดค่อนข้างเป็นเหลี่ยม มีหนาม 1 อัน ตามซอกใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ตัวใบรูปไข่ ปลายใบหยักเว้า ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงแยก 2 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก 3 กลีบ เกสรผู้ 6 อัน ก้านเกสรผู้รวมกันเป็นหลอด ผลกลมขนาดเล็ก ผิวหนาคล้ายหนัง เมล็ดรูปไข่ พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายทะเล

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ - ใช้ในโรคทางเดินหายใจ





ผักขมหนาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus spinosus Linn.

วงศ์ : AMARANTHACEAE

ชื่ออื่น : ผักโหมหนาม ปะตึ แม่ล้อคู่

ลักษณะพืช : พืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นกลม ผิวเกลี้ยง ค่อนข้างอวบน้ำ ใบเดี่ยว ตามซอกใบและโคนช่อดอกจะมีหนามแหลม ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ และออกรวมเป็นช่อตามปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กมาก ผลกลมขนาดเล็ก เมื่อแก่จะแตกตรงกลาง ภายในมีเมล็ดกลมค่อนข้างแบน 1 เมล็ด สีน้ำตาลผิวเรียบมัน พบตามที่ว่างรกร้าง ริมทาง เรือกสวนทั่วไป
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ทั้งต้น - ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ใบ - แก้บิด แก้บวมน้ำ ราก - แก้โรคปวดตามข้อ ขับปัสสาวะ แก้หนองใน แก้ไข้





รามใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia Littoralis Andr.

วงศ์ : MYRSINACEAE
ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม สูงถึง 4 ม. ใบเดี่ยว เรียงเวียนตัวใบรูปไข่กลับหรือรูปรี ขนาดยาว 9 - 15 ซม. กว้าง 2 - 5 ซม. ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น ใบตามปลายยอดมีก้านใบสีแดง ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอดและซอกใบ กลีบดอกสีชมพูอ่อน 5 กลีบ ดอกตูม กลีบดอกด้านหลังมีตุ่มสีน้ำตาล เมื่อดอกบาน ตุ่มจางหายไป เกสรผู้ด้านหลังมีตุ่มสีน้ำตาลเช่นกัน ผลกลมแป้นสีชมพูเข้ม เมื่อแก่สีดำ พบตามเรือกสวน ที่ร่มชุ่มชื้น ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ - แก้ปวดบริเวณหน้าอก