วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebracteatus Vah 1

วงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : เหงือกปลาหมอ

ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม ลำต้นกลมเรียบ มีหนามตามข้อ ข้อละ 4 หนาม ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ผิวเรียบเป็นมัน ขอบใบจักหยาบ ปลายแหลมคล้ายหนาม แต่อาจพบขอบใจเรียบก็ได้ ดอกสีขาว ผลรูปไข่สีเขียว พบขึ้นตามชายน้ำ ริมลำคลอง ที่ชุ่มชื้นทั่วไป

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ทั้งต้นและเมล็ด - รักษาฝี แก้โรคน้ำเหลืองเสีย










โมกเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aganosma marginata G. Don วงศ์ : APOCYNACEAE

ชื่ออื่น : มะเดื่อดิน เดื่อเครือ ย่านเดือยบิด ไส้ตัน

ลักษณะพืช : ไม้เถาเนื้อแข็ง มีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปขอบขนาน ผิวใบด้านบนเกลี้ยง หรือมีขนประปราย ด้านล่างมีขนสั้นๆ ช่อดอกออกตามปลายยอด หรือตามซอกใบ ดอกรูปกรวย ปลายแยก 5 แฉก สีขาว ผลเป็นฝักยาว ออกเป็นคู่ ฝักแก่จะแตก 2 ซีก มีเมล็ดรูปขอบขนาน ปลายด้านหนึ่งมีขนยาวมีขาว จำนวนมาก พบตามป่าละเมาะ เรีอกสวน ชอบที่ร่มชุ่มชื้น

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ - แก้ริดสีดวง แก้เมื่อย แก้ผื่นคัน ขับปัสสาวะ ราก - แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ยาเจริญอาหาร ยาระบาย ขับระดู แก้ขัดเบา แก้ไตและตับพิการ แก้ไข้ ทั้งต้น - แก้ไข้








ชะเอมป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth.

วงศ์ : LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น : ชะเอมไทย ตาลอ้อย ส้มป่อยหวาน ย่านงาย

ลักษณะพืช : ไม้ยืนต้น ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยมีขนาดเล็ก ที่โคนก้านใบมีต่อมใหญ่ 1 ต่อม ดอกอัดแน่นเป็นช่อกลม ออกตามปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก รูปกรวย ปลายแยก 5 แฉกเล็กๆ เกสรตัวผู้จำนวนมาก ยาวยื่นพันกรวยดอก ดอกมีกลิ่นหอม ผลเป็นฝักแบนยาว ปลายเรียว ฝักแก่สีน้ำตาล มีเมล็ด 5 - 8 เมล็ด พบตามป่าละเมาะ เชิงเขา ป่าชายทะเล

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ราก - แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย เนื้อไม้ - ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ดอก - ช่วยย่อยอาหาร







ผักเป็ดน้ำชื่อวิทยาศาสตร์ : Alternanthera philoxeroides Griseb.

วงศ์ : AMARANTHACEAE

ชื่ออื่น : ผักเป็ด

ลักษณะพืช : พืชน้ำล้มลุก ลำต้นทอดคลาน หรือลอยเหนือน้ำ ลำต้นตอนล่างมีขนสีขาวตามซอกใบ ด้านข้างที่ตรงข้ามกัน 2 ด้านของลำต้น มีขนขึ้นเป็นแนว ส่วนอื่นๆเกลี้ยง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่หรือไข่กลับ ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ดอกมีขนาดเล็กสีขาว อัดแน่นเป็นกระจุก พบทั่วไปตามแอ่งน้ำ หนอง บึง

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ทั้งต้น - ขับน้ำนม แก้ไข้ ตำพอกแผล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น