วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ชื่อภาษาไทย มะนาว

ชื่อภาษาอังกฤษ Lime

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifolia (Christm. et Panz.) Swing.

วงศ์ RUTACEAE

ชื่ออื่น ส้มมะนาว

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ

สรรพคุณ น้ำมะนาวและผลดองแห้ง - รับประทานเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะอื่น ๆ เช่น ดีปลี นอกจากนี้ยังใช้แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี




ชื่อภาษาไทย มะปราง
ชื่อภาษาอังกฤษ Plum Mango
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bouca macrophylla Griff. วงศ์ ANACARDIACEAE
ชื่ออื่น -
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร กิ่งก้านห้อยลง เป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3-7 ซม. ยาว 12-20 ซม. เนื้อใบเหนียวเป็นมัน ดอกช่อ แยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอกย่อยสีเหลืองขนาดเล็ก ผล เป็นผลสด รูปวงรี สีเหลืองหรือส้ม ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยว ใบเลี้ยงสีม่วง
สรรพคุณ ราก - มีรสเย็น ใช้ถอนพิษไข้ พิษสำแดง แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ ไข้มีพิษร้อน

ชื่อภาษาไทย โสนกินดอก
ชื่อภาษาอังกฤษ - ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania javanica Miq.
วงศ์ LEGUMINOSAE ชื่ออื่น ผักฮองแฮง โสนหิน สิปรีหลา
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยขนาดเล็กรูปยาวรี ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อมี 10-15 ดอก ดอกสีเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ ผลเป็นฝักยาวเรียวค่อนข้างแบนภายในมีเมล็ดจำนวนมาก พบขึ้นในหนองน้ำ ที่ชื้นแฉะทั่วไป
สรรพคุณ เมล็ด – ฝาดสมาน







ชื่อภาษาไทย แตงโม
ชื่อภาษาอังกฤษ Watermelon
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrullus lanatus Mats & Nakai
วงศ์ CUCURBITACEAE
ชื่ออื่น แต่เต้าส่า แตงจีน มะเต้า อุลัก
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้เถา มือเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง ใบเดี่ยวเรียงสลับ ผิวใบเป็นรอบขรุขระ ออกดอกเดี่ยวๆ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ผลกลม ผิวเรียบ สีเขียวแก่ ภายในมีเนื้อสีแดง รสหวาน ฉ่ำน้ำ เมล็ดมีจำนวนมาก รูปไข่ แบน ผิวเรียบ สีน้ำตาลเข้ม
สรรพคุณ แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ร้อนในกระหายน้ำ ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้น้ำร้อนลวก ไฟลวก แก้ไส้เลื่อน แก้จุกเสียดล ดคความดันโลหิต ขับเสลด แก้ไอเรื้อรัง




ชื่อภาษาไทย เตยหอม
ชื่อภาษาอังกฤษ - ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb.
วงศ์ PANDANACESE
ชื่ออื่น ปาแนะวองิง
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเรียวยาว ใบแก่มักมีปลายใบกว้างกว่าฐานใบและมีหนาม ต้นแก่มักมีรากอากาศตลอดต้น
สรรพคุณ บำรุงหัวใจ แก้กระษัย น้ำเบาพิการ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้โรคผิวหนัง รักษาโรคหัด รักษาโรคสุกใส






ชื่อภาษาไทย แค
ชื่อภาษาอังกฤษ Agasta, Sesban
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania grandiflora Desv.
วงศ์ LEGUMINOSAE ชื่ออื่น แคบ้าน แคแดง
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบประกอบ ดอกสีขาวหรือแดง ลักษณะของดอกเหมือนดอกถั่ว ผลเป็นฝัก
สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้ลม แก้บาดแผล แก้พยาธิ แก้ท้องร่วง แก้บิด สมานแผล รักษาโรคผิวหนังและแผลเรื้อรัง แก้ริดสีดวงจมูก ขับปัสสาวะ แก้นอนไม่หลับ




ชื่อภาษาไทย แก้ว
ชื่อภาษาอังกฤษ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculata (Linn.) Jack
วงศ์ RUTACEAE ชื่ออื่น ตะไหลแก้ว จ๊าพริก
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 เมตรใบประกอบแบบขนนกชนิดที่มีใบยอด 1 ใบ ใบย่อยมี 7-9 ใบ ใบย่อยยาว กว้าง 1-1.5 ซม.ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาวมี 5 กลีบ หอมผลรี รูปไข่ ผลสุก สีแดง ออกดอกตลอดปี
สรรพคุณ ใบ - ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด เคี้ยวอมแก้ปวดฟัน แก้บิด และท้องเสี



ชื่อภาษาไทย มะตูม
ชื่อภาษาอังกฤษ Bael Fruit Tree, Bengal Quince
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aegle marmelos (Linn.) Corr.
วงศ์ RUTACEAE
ชื่ออื่น กะทันตาเถร ตุ่มตัง ตูม มะปิน
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปวงรี หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-13 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ และที่ปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวล ใบและดอกมีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสด เนื้อในสีเหลือง มีน้ำเมือก
สรรพคุณ ผลดิบแห้ง - ใช้ชงดื่ม ทำให้สดชื่น หายอ่อนเพลีย แก้ท้องเสีย แก้บิดผลสุก - เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร



ชื่อภาษาไทย มะพร้าว
ชื่อภาษาอังกฤษ Coconut
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera Linn.
วงศ์ ARECACEAE ชื่ออื่น หมากอุ๋น หมากอูน
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม สูงได้ถึง 25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ หนาแน่นที่บริเวณยอด ยาว 4-6 เมตร ใบย่อยรูปพัดจีบ กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 50-100 ซม. ดอกช่อ ออกระหว่างก้านใบ ดอกย่อยจำนวนมาก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้สีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียว หรือเขียวแกมเหลือง ใบประดับยาว 60-90 ซม. ผล เป็นผลสด รูปใข่แกมทรงกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง เนื้อสีขาว
สรรพคุณ น้ำมะพร้าว - มีเกลือโปแตสเซียมและน้ำตาลกลูโคสสูง อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูง มีเกลือคลอไรด์และโซเดียมต่ำกว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ สูตรองค์การอนามัยโลก ที่ใช้กับโรคท้องเสีย ทำให้ชุ่มคอ บำรุงธาตุไฟ ช่วยกระตุ้นการหายใจ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเล็กน้อย



ชื่อภาษาไทย มังคุด
ชื่อภาษาอังกฤษ Mangosteen
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana Linn.
วงศ์ CLUSIACEAE ชื่ออื่น -
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 10 - 12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลืองใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6 - 11 ซม. ยาว 15 - 25 ซม. เนื้อใบหนา และค่อนข้างเหนียว คล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ท้องใบสีอ่อนดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศ หรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม
สรรพคุณ เปลือกผล - ใช้เปลือกผลแห้ง ซึ่งมีสารแทนนิน เป็นยาฝาดสมาน แก้โรคท้องร่วง ท้องเสียเรื้อรัง และโรคเกี่ยวกับลำไส้



ชื่อภาษาไทย รัก
ชื่อภาษาอังกฤษ
-
ชื่อวิทยาศาสตร์ Calotropis gigantea R.Br.
วงศ์ ASCLEPIADACEAE ชื่ออื่น รักดอก ปอเถื่อน ป่านเถื่อน
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่ม ขนาดกลาง ลำต้นมียางขาว ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปรีแกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นช่อ ตามปลายยอดและซอกใบ แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกตูมรูปกลมป้อม โคนดอกกว้างกว่าตอนปลาย กลีบดอกเชื่อมติดกันตอนโคน ตอนปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ สีขาวหรือสีม่วง ชั้นในติดกับกลีบดอก มีรยางค์ 5 กลีบติดกัน สีขาวหรือสีม่วง ลักษณะคล้ายมงกุฎ ผลเป็นฝักคู่รูปรี ฝักแก่จะแตกตามยาว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดสีน้ำตาล มีขนยาวสีขาว ปลิวตามลมได้ดี พบขึ้นตามที่ว่าง แดดจัด ริมทาง หัวไร่ปลายนา
สรรพคุณ ยาง-ยาถ่ายอย่างแรง แก้ปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ แก้กลากเกลื้อนเปลือกต้น-ทำให้อาเจียนดอก-แก้ไอ แก้หืดเปลือกราก-แก้บิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน


ชื่อภาษาไทย ระงับพิษ
ชื่อภาษาอังกฤษ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Breynia glauca Craib.
วงศ์ BUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น เชียงใหม่ : ดับพิษ
ถิ่นกำเนิด อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย รายละเอียด ไม้พุ่มขนาดย่อม ใบประกอบมีสีเขียว ดอกเล็กเป็นช่อ ผลโตขนาดเมล็ดพริกไทย ผลแก่จัดสีดำ ผลค่อนข้างมน ชอบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป
สรรพคุณ ราก – ใช้กระทุ้งพิษ แก้ไข้จับสั่นไข้กลับ แก้เซื่องซึม แก้พิษไข้ทุกอย่าง


ชื่อภาษาไทย รางจืด
ชื่อภาษาอังกฤษ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Linn.
วงศ์ THUNBERGIACEAE
ชื่ออื่น กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว คาย รางเย็น ดุเหว่า ทิดพุด น้ำนอง ย่ำแย้ แอดแอ
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้เถาเนื้อแข็งใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. ขอบใบเว้าเล็กน้อยดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน ใบประดับสีเขียวประสีน้ำตาลแดงผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณ ใบสด - ใช้คั้นน้ำ แก้ไข้ ถอนพิษต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น อาการแพ้อาหาร เป็นต้น การทดลองเพื่อใช้แก้พิษ ที่เกิดจากยาฆ่าแมลงโพลิดอลในสัตว์ ได้ผลดีพอควร สรุปได้ว่า อาจใช้น้ำคั้นใบสด ให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลง ดื่มเป็นการปฐมพยาบาล ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกัน ก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง


ชื่อภาษาไทย มะขาม

ชื่อภาษาอังกฤษ Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.
วงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่น -
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง มีลายสีม่วงแดง ผลเป็นฝัก มีเนื้อหุ้มเมล็ด สีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ
สรรพคุณ มะขามเปียก - ใช้เป็นยาถ่าย และยาแก้ไอกัดเสมหะที่เหนียวข้น เนื่องจากมีกรดอินทรีย์ เช่น กรด trataric และกรด citricเปลือกต้น - เป็นยาสมานคุมธาตุเนื้อในเมล็ด - ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิไส้เดือนใบและยอดอ่อน - มีรสเปรี้ยว ใช้ในการอาบ อบสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น