วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552



ชื่อภาษาไทย มะกรูด

ชื่อภาษาอังกฤษ Leech Lime

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.

วงศ์ RUTACEAE ชื่ออื่น มะขุน มะขูด ส้มกรูด

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 2-8 เมตร ใบและดอกคล้ายมะนาว ใบ รูปค่อนข้างกลม กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 3-8 ซม. ก้านใบมีครีบขนาดใหญ่เท่าตัวใบ ผลเป็นผลสด รูปร่างค่อนข้างกลม ผิวขรุขระ

สรรพคุณ น้ำมะกรูด - ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้สระผมกันรังแคผิวมะกรูด - ใช้เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง



ชื่อภาษาไทย มะลิฝรั่งเศส

ชื่อภาษาอังกฤษ Spanish Jasmine, Catalonian Jasmine

ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum officinale Linn. f. var. grandiflorum (Linn.) Kob. ,OLEACEAE
ชื่ออื่น จัสมิน พุทธชาดก้านแดง

ถิ่นกำเนิด รายละเอียด ไม้เถา ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย5-7 ใบ รูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว หลังกลีบสีแดง มีกลิ่นหอม

สรรพคุณ ดอกสด - มีน้ำมันหองระเหย ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กลั่นไอน้ำทำเป็นหัวน้ำหอม สำหรับแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง







ชื่อภาษาไทย มะลิลา, มะลิซ้อน

ชื่อภาษาอังกฤษ Arabian Jasmine

ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac Ait. ,OLEACEAE

ชื่ออื่น ข้าวแตก มะลิ มะลิขี้ไก่ มะลิป้อม มะลิหลวง

ถิ่นกำเนิด รายละเอียด ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ใบประกอบ ชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. สีเขียวแกมเหลือง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม มะลิลามีกลีบดอกชั้นเดียว ส่วนมะลิซ้อนมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณ ดอกแห้ง - จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ปรุงยาหอม ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ไข้





ชื่อภาษาไทย มะแว้งต้น

ชื่อภาษาอังกฤษ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum sanitwongsei Craib

วงศ์ SOLANACEAE

ชื่ออื่น -

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบ สีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม

สรรพคุณ ผล - ใช้แก้ไอขับบเสมหะ รักษาเบาหวาน ขับปัสสาวะ พบสเตอรอยด์ปริมาณค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มะแว้งต้นเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้ง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้นตามตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ



ชื่อภาษาไทย มะแว้งเครือ

ชื่อภาษาอังกฤษ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum trilobatum Linn.

วงศ์ SOLANACEAE

ชื่ออื่น แขว้งเครือ

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้เลื้อย มีหนามตามกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ขอบใบเว้า มีหนามตามเส้นใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวมีลายตามยาว เมื่อสุกสีแดง

สรรพคุณ ผล - ใช้แก้ไอขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อย ๆ หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้งเช่นกัน นอกจากนี้ ใช้ขับปัสสาวะแก้ไข้และเป็นยาขมเจริญอาหาร



ชื่อภาษาไทย มะยม
ชื่อภาษาอังกฤษ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus Skeel
วงศ์ EUPHOTBIACEAE
ชื่ออื่น -
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น ตามลำต้นมีปุ่มปม ใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียวกันบนกิ่งก้านที่เรียวเล็ก ช่อดอกสั้นๆ ออกติดกันเป็นกระจุกตามลำต้น และกิ่งก้าน ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีชมพู ผลกลมแป้นมี 6-8 พู สีเขียวอ่อน ลักษณะชุ่มน้ำ พบปลูกตามบ้านเรือน เรือกสวน

สรรพคุณ ราก – ฝาดสมาน แก้ไอ แก้หอบหืดผล – ฝาดสมาน แก้หลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ


ชื่อภาษาไทย แมงลัก
ชื่อภาษาอังกฤษ Hairy Basll

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum canum sims.
วงศ์ LABIATAE

ชื่ออื่น -
ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด เมือกจากเมล็ดพบ D-xylose , D-glucose, D-galactose , D-mannose, L-rhamnose , uronic acid , oil , polysaccharide และ mucilage ส่วนใบพบน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วย borneol,L-เบต้า-cadinene, 1-8 cineol,เบต้า-caryohyllene, eugenol

สรรพคุณ เมล็ดใช้เป็นยาระบายเพิ่มกาก ใบใช้ขับลม



ชื่อภาษาไทย โมกบ้าน

ชื่อภาษาอังกฤษ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia religiosa Benth

วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น ปิดจงวา หลักป่า โมกซ้อน

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้พุ่ม ลำต้นเรียบ มีจุดแต้มประสีขาวทั่วลำต้น ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกรูปกรวยสั้นปลายแยก 5 กลีบ สีขาว ผลเป็นฝักคู่เรียวยาวโค้ง ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้มภายในมีเมล็ดจำนวนมาก พบตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ และ พบปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน

สรรพคุณ ราก – ปรุงยารักษาโรคผิวหนังจำพวกโรคเรื้อน


ชื่อภาษาไทย โมกหลวง

ชื่อภาษาอังกฤษ Kurchi

ชื่อวิทยาศาสตร์ Holarrhena pubescens (Buch.-Ham.) Wall. ex G. Don (H. antidysenterica wall.)

วงศ์ APOCYNACEAE

ชื่ออื่น พุด พุทธรักษา มุกมันน้อย มูกมันหลวง มุกหลวง โมกเขา โมกทุ่ง โมกใหญ่ ยางพุด

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนตน สูง 8 - 15 เมตร ทุกส่วนมียางขาวใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่ หรือรูปวงรี กว้าง 5 - 12 ซม. ยาว 10 - 20 ซม. ผิวใบสีเขียวแกมเหลือง ท้องใบมีขนนุ่มดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว บริเวณกลางดอกสีเหลืองผลเป็นฝักคู่

สรรพคุณ เปลือก - ใช้เปลือกแก้บิด เจริญอาหาร พบว่ามีแอลคาลอยค์ conessine ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบิด และเคยใช้เป็นยารักษาโรคบิด อยู่ระยะหนึ่ง ปัจจุบันมีการใช้น้อย เนื่องจากพบฤทธิ์ข้างเคียง ต่อระบบประสาท



ชื่อภาษาไทย โมกมัน

ชื่อภาษาอังกฤษ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia tomentosa Roem. et Schult.

วงศ์ APOCYNACEAE

ชื่ออื่น มักมัน มูกน้อย มูกมัน โมกน้อย

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 10 - 12 เมตร มียางขาวใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3 - 6 ซม. ยาว 7 - 12 ซม.ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก สีขาวแกมชมพูผลเป็นฝักคู่ติดกัน

สรรพคุณ เปลือก - ใช้เปลือกเป็นยาบำรุงธาติ เจริญอาหารแก่น - แก้ดีพิการ ขับเลือดยางจากต้น - ใช้แก้บิดมูกเลือด


ชื่อภาษาไทย เร่ว

ชื่อภาษาอังกฤษ -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia allughas Rosc.

วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น กะลา ข่าน้ำ

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน กลิ่นหอม แตกกอ สูงได้ถึง 1 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 4-7 ซม. ยาว 12-20 ซม. ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบเป็นแผ่น เรียงอัดแน่นคล้ายลำต้นบนดิน สีเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แผ่เป็นแผ่นคล้ายกลีบดอกสีขาว มีลายเส้นตามขวาง สีน้ำตาลส้ม ผลแห้งแตกได้ รูปทรงกลม เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม

สรรพคุณ เมล็ด - มีรสเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับน้ำนม แก้คลื่นไส้ อาเจียน ขับลม


ชื่อภาษาไทย บัวหลวง
ชื่อภาษาอังกฤษ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nelumbo mucifera Gaerth. NELUMBONACEAE

ชื่ออื่น บัว สัตตบงกช สัตตบุษย์ อุบล

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้น้ำอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินยาวและเป็นปล้อง ใบเดี่ยว รูปโล่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-60 ซม. ผิวใบมีนวล ก้านใบยาวชูขึ้นเหนือน้ำ ดอกเดี่ยว แทงออกจากเหง้า ด้านดอกยาว ชูดอกขึ้นเหนือน้ำ กลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ติดอยู่รอบฐานดอกรูปกรวย ผลแห้ง รูปรี จำนวนมาก ฝังอยู่ในฐานรองดอก

สรรพคุณ เกสร - เกสรบัวหลวง เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ผสมในยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ



ชื่อภาษาไทย กระดังงาไทย
ชื่อภาษาอังกฤษ Ylang Ylang

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. et. Th. ANNONACEAE

ชื่ออื่น กระดังงา กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ สะบันงา สะบันงาต้น

ถิ่นกำเนิด - รายละเอียด ไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำ
สรรพคุณ ดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด


ขนหนอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bridelia tomentosa Bl.

วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กระบือ สีฟันกระบือ มะแก สามพันตา
ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน ตัวใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือแหลม ขนาดยาว 3 - 12 ซม. กว้าง 1 - 5 ซม. ผิวใบด้านหลังมีขนเส้นเล็กๆ ละเอียดปกคลุม ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเล็ก มีดอกเพศผู้และเพศเมียในกระจุกเดียวกัน ผลรูปกลมขนาดเล็กสีเขียว ต่อมาเปลี่ยนเป็นดำ ภายในมี 2 เมล็ด พบตามที่ชุ่มชื้นริมน้ำ ป่าละเมาะ ป่าชายทะเล

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ - ผสมกับพืชสมุนไพรชนิดอื่นแช่ (infused) เอาน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง แก้ไข้ ปรุงยาต้ม แก้โรคลำไส้ ราก - เป็นยาภายหลังคลอด ทั้งต้น - เป็นพิษ





มะกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bridelia ovata Decne

วงศ์ : EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น : ก้องแกบ ขี้เหล้ามาดกา ซำซา มัดกา มาดกา ส่าเหล้า สิวาลา

ลักษณะพืช : ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงถึง 10 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ ตัวใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ขนาดยาว 7 - 20 ซม. กว้าง 3 - 7 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเล็กดอกเพศผู้แลดอกเพศเมีย อยู่ในกระจุกเดียวกัน ผลเป็นผลสด รูปกลมขนาดเล็กพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายทะเล
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ - ขับเสมหะ เปลือก - ฝาดสมาน
กระดุม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Borreria articularis (L.f.) F.N. Williams
วงศ์ : RUBIACEAE

ชื่ออื่น : -
ลักษณะพืช : พืชล้มลุก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่ เนื้อใบบาง มีขนทั้ง 2 ด้าน ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก รูปกรวย ปลายแยก 4 แฉก กรวยดอกสีขาว กลีบดอกสีม่วงอ่อน ภายในกรวยดอกเหนือโคนกรวยดอกเล็กน้อย มีขนเรียงเป็นวงแหวน ผลเล็กรูปรี หรือที่น้ำขังแฉะทั่วๆไป

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ - แก้ริดสีดวงทวาร ราก - แก้ปวดฟัน ลำต้นและใบ - เป็นส่วนผสมทำยาพอก แก้อุจจาระร่วง ทำยาชง แก้โรคนิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี




อังกาบหนู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria prionitis Linn.

วงศ์ : ACANTHACEAE ชื่ออื่น : เขี้ยวแก้ว เขี้ยวเนื้อ มันไก่
ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม สูงถึง 1.5 ม. ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่ปลายแหลม ยาว 2 - 17 ซม. กว้าง 0.5 - 6 ซม. ตามซอกใบจะมีหนามแหลม 3 - 5 อัน ดอกออกเดี่ยวๆ ส่วนตอนปลายยอดจะออกเป็นช่อ กลีบดอกสีเหลืองสด ยาว 2 - 5 ซม. ผลกลมแบน ปลายแหลม แข็ง ขนาด 1 - 2 ซม. ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด ขึ้นได้ดีในที่แล้ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ทั้งต้น - ขับปัสสาวะ แก้ไขข้ออักเสบ แก้บวมน้ำ แก้ไข้ ใบ - แก้กลากเกลื้อน แก้ปวดฟัน น้ำคั้นทากันเท้าแตก หยอดหู แก้อักเสบ เปลือก - แก้ไอกรน ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้อาการบวมทั้งตัว ราก - ทำยาแก้ฝี





หนามพุงดอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azima sarmentosa Benth. & Hook.

วงศ์ : SALVADORACEAE
ชื่ออื่น : ขี้แฮด ปิ๊ดเต๊าะ พุงดอ
ลักษณะพืช : ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยวออกตรงข้าม เนื้อใบหนา สีเขียวสดเป็นมัน ตัวใบมีรูปร่างหลายแบบ ที่โคนใบมีหนามแหลมเรียวยาว 2 อัน ดอกออกเป็นช่อ แตกเรียงกันหลายชั้น ดอกเล็ก ผลกลมสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว ภายในมีเมล็ด 2 - 3 เมล็ด พบตามริมน้ำ ที่ลุ่มชื้นแฉะ แนวป่าละเมาะชายทะเลทั่วไป
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ราก - ถอนพิษ แก้ไข้ ภายนอกใช้ฝนทาแก้พิษฝี






มะนาวผี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atalantia monophylla DC.

วงศ์ : RUTACEAE

ชื่ออื่น : มะลิว จ๊าลิว กรูดผี กรูดเปรย
ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม กิ่งก้านตามยอดค่อนข้างเป็นเหลี่ยม มีหนาม 1 อัน ตามซอกใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ตัวใบรูปไข่ ปลายใบหยักเว้า ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงแยก 2 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก 3 กลีบ เกสรผู้ 6 อัน ก้านเกสรผู้รวมกันเป็นหลอด ผลกลมขนาดเล็ก ผิวหนาคล้ายหนัง เมล็ดรูปไข่ พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายทะเล

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ - ใช้ในโรคทางเดินหายใจ





ผักขมหนาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus spinosus Linn.

วงศ์ : AMARANTHACEAE

ชื่ออื่น : ผักโหมหนาม ปะตึ แม่ล้อคู่

ลักษณะพืช : พืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นกลม ผิวเกลี้ยง ค่อนข้างอวบน้ำ ใบเดี่ยว ตามซอกใบและโคนช่อดอกจะมีหนามแหลม ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ และออกรวมเป็นช่อตามปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กมาก ผลกลมขนาดเล็ก เมื่อแก่จะแตกตรงกลาง ภายในมีเมล็ดกลมค่อนข้างแบน 1 เมล็ด สีน้ำตาลผิวเรียบมัน พบตามที่ว่างรกร้าง ริมทาง เรือกสวนทั่วไป
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ทั้งต้น - ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ใบ - แก้บิด แก้บวมน้ำ ราก - แก้โรคปวดตามข้อ ขับปัสสาวะ แก้หนองใน แก้ไข้





รามใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia Littoralis Andr.

วงศ์ : MYRSINACEAE
ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม สูงถึง 4 ม. ใบเดี่ยว เรียงเวียนตัวใบรูปไข่กลับหรือรูปรี ขนาดยาว 9 - 15 ซม. กว้าง 2 - 5 ซม. ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น ใบตามปลายยอดมีก้านใบสีแดง ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอดและซอกใบ กลีบดอกสีชมพูอ่อน 5 กลีบ ดอกตูม กลีบดอกด้านหลังมีตุ่มสีน้ำตาล เมื่อดอกบาน ตุ่มจางหายไป เกสรผู้ด้านหลังมีตุ่มสีน้ำตาลเช่นกัน ผลกลมแป้นสีชมพูเข้ม เมื่อแก่สีดำ พบตามเรือกสวน ที่ร่มชุ่มชื้น ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ - แก้ปวดบริเวณหน้าอก


































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น